ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พฤติกรรมการสอน, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ความรู้พื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) สร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ปีการศึกษา 2567 จำนวน 326 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของครู แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียน เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ และแบบทดสอบความรู้พื้นฐาน เป็นแบบตัวเลือกถูกผิด จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ
ผลการวิจัยพบว่า1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ เจตคติต่อการเรียน (= 4.86, S.D. = 0.17) พฤติกรรมการสอนของครู (= 4.83, S.D. = 0.19) และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (= 4.80, S.D. = 0.32) ส่วนความรู้พื้นฐานและผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา อยู่ในระดับดีทั้งคู่
2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า พฤติกรรมการสอนของครู (X1) มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์(X2) เจตคติต่อการเรียน (X3) ความรู้พื้นฐาน (X4) และผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์(X2) มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการเรียน (X3) ความรู้พื้นฐาน (X4) และผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 เจตคติต่อการเรียน (X3) มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความรู้พื้นฐาน (X4) มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษา (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม พบว่า ตัวแปรทั้งสี่ตัว (X1, X2, X3, X4) มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อตัวแปรตาม (.01)และสามารถอธิบายความแปรปรวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนได้ร้อยละ 21.10 (R2 = .211) และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม คือ
= -5.023 + 0.259X1 + 0.238X4 + 0.115 X2 + 0.073 X3
= 0.569 Zx1+ 0.275Zx4+ -0.436 Zx2 +0.148 Zx3
References
Anukoolbut, P. A. (2005). Study of factors affecting learning achievement of Mathayom 3 students in Nakhon Pathom Educational Service Area. Silpakorn University.
BBC NEWS Thai. (2023, December 5). PISA 2022: Thailand's scores lowest in 20 years, OECD countries' performance drops significantly. [Online].
https://www.bbc.com/thai/articles/c958lke3wvlo
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Addison-Wesley.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2003). Learning management in science courses. Ministry of Education.
Jitjumlong, N. (2021). Factors affecting students' academic achievement. Journal of Social Sciences Research and Academic, 16(1), 1-18.
Kounin, J. S. (1970). Discipline and group management in classrooms. Holt, Rinehart & Winston.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
McClelland, D. C. (1961). The achieving society. Van Nostrand.
Office of the Basic Education Commission. (2024). Educational Management Information System[Database]. Ministry of Education.
Phanngam, J. (2019). Analysis of factors leading to students receiving 0, r, and ms grades. Journal of Education Research, 15(2), 45-62.
Sindhuprama, S. (2015). Teaching social studies, religion and culture. Chulalongkorn University Press.
Suikraduang, A. (2014). Research methodology in education. Apichart Printing.
Suwanasit, P. & Ong-artwanich, N. (2022). Factors affecting academic achievement of secondary school students. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 18(1), 167-190.
The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560. (2017, April 6). Government Gazette, 134(40a), 1-90.
Wae-gaji, F. (2021). Factors affecting learning achievement of Mathayom 3 students in Islamic private schools in Pattani province. Prince of Songkla University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ