นวัตกรรมการสร้างจังหวะในการพัตต์กอล์ฟเพื่อความสำเร็จ

ผู้แต่ง

  • สืบพงศ์ จินดาพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กอล์ฟ, พัตต์กอล์ฟ, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างนวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟ 2) เพื่อศึกษาการนำนวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟไปใช้ฝึกนักกอล์ฟที่มีแฮนดิแคป (handicap) อยู่ระหว่าง 0 – 24 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพัตต์กอล์ฟของนักกอล์ฟก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น ชาย - หญิง มี Handicap 0 - 24 โดยเป็นผู้สมัครเข้าใจร่วมในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 20 คน จำแนกเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ตามระดับ Handicap เป็นตัวกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นนวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Mann Whitney U Test

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ทักษะที่จะนำมาสร้างทักษะการพัตต์กอล์ฟ เพื่อความสำเร็จประกอบไปด้วย 4 ทักษะ คือ1.การนำพัตเตอร์เคลื่อนไปทางด้านข้างเป็นเส้นตรง 90 องศา ห่างจากตำแหน่งลูกกอล์ฟ (การจรดลูกก่อนการเคลื่อนไม้) ประมาณ 5 นิ้ว 2.การนำพัตต์เตอร์กลับมายังตำแหน่งเดิมในลักษณะเส้นตรง 90 องศา 3. การนำพัตต์เตอร์กระทบลูกในลักษณะเส้นตรง โดยทำการปล่อยพัตต์เตอร์ให้ผ่านไปจากจุดกระทบ 90 องศา 4.ให้นำหน้าไม้พัตต์เตอร์ไปยังหลุมในลักษณะเส้นตรง 90 องศา ขณะที่ทำการพัตต์หน้าของนักกอล์ฟจะต้องนิ่งไม่เคลื่อนตามหน้าพัตต์เตอร์ตลอดการสร้างจังหวะการพัตต์เตอร์
  2. ผลของการนำนวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟไปใช้ฝึกนักกอล์ฟที่มีระดับฝีมือ อยู่ระหว่าง 0 – 24 พบว่าในแต่ละช่วงของการฝึกในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกโดยใช้นวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟ สามารถพัฒนาความสามารถการพัตต์กอล์ฟในการพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น
  3. ผลของการเปรียบเทียบทักษะการพัตต์กอล์ฟของนักกอล์ฟก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟ พบว่าทักษะการพัตต์กอล์ฟโดยใช้นวัตกรรมการพัตต์กอล์ฟของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ซึ่งแสดงว่า นวัตกรรมการสร้างจังหวะการพัตต์กอล์ฟสามารถส่งเสริมความสามารถในการพัตต์แก่นักกอล์ฟได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                       

References

Chaiwattanaroj P. & Cholayuth W. (2007). Virtual Putt – Golf Game Based on Digital Image Processing Technique. Bachelor of Engineering Department of Electrical Engineering. Bangkok: Thammasat University.

Chuachang A. (2014). The Effects of Imagery Training Program on The Skill or Golf– Chipping and The Electrical Activity of Muscle. Master of Science Exercise and Sport Chonburi : Burapha University.

Evans K. (2008). Swing Kinematic in Skilled male Golfers Following Putting Practice. Orthopedic and Sports Physical Therapy. 38, 425 – 33.

Hemarachatanon P. (2019). Study of Kinetics and Kinematics of Two Driving Golf Strokes During The Downswing Phase. Doctor of Philosophy Sport and Exercise Science Bangkok : Srinakharinwirot University.

Hongthong C. (2008). A Comparative Study of The Effect of Putting Training of Golf Amateurs With and Without Training Aids. Master of Education in Curriculum and Instruction. Khon Kean : Khon Kean University.

Ketsomjai W. (2003). Factors Influencing Consumer Behavior of Using Golf Driving Range Center in Bangkok Metropolistan Area. Master of Business Administration Degree in Marketing Bangkok : Srinakharinwirot University.

Ketsomjai, W. (2003). Factors Influencing Consumer Behavior of Using Golf Driving Range Center in Bangkok Metropolistan Area. Master of Business Administration Degree in Marketing Bangkok : Srinakharinwirot University.

Khaunphet L. (2023).The Effects Of Mindfulness Training Program Of Junior Golfer Golf Putting Accuracy: Brain Electrical Waves Changes. Faculty Of Education Burapha University.

Nubthoetrong O. et al. (2017). Physiological Response to Choking on Golf Putting in Thai Amateur Golfers . Science journal Kochasan, 39(1), 76 – 77.

Singhkaew T, Benjapalakorn B & Buranarugsa R. (2024). The Effect Of Visual Aid Tecchnique On Golf Putting Peformance In Non – Experienced Adolescent Males. Academic Journal of Thailand National Sports University, 16(2), 155-176.

Suksaard C. (2014). Effect of Prolong Putting Warm Up on The Maximum Different Between Torso and Pelvis Rotation in Golf Driver Swing : Graduate Research Conference. MMP38, 1452.

Surarak P. (2019). The Planning Skill Development of School Principals Through Golf Activities. Doctor of Philosophy Program in Educational Administration and Development Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.

Wongratana C. & Naiyapat O. (2008). Experimental research designs and statistical analysis: basic concepts and methods. Bangkok: Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

จินดาพล ส. . (2024). นวัตกรรมการสร้างจังหวะในการพัตต์กอล์ฟเพื่อความสำเร็จ. Journal for Developing the Social and Community, 11(3), 433–452. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/282607