ความเหลื่อมล้ำเงินบำเหน็จชราภาพในระบบประกันสังคมของผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ

ผู้แต่ง

  • ชัชวรรณ์ ลีโรจนวุฒิกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • กานต์สินี ทิพย์มนเทียร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สุธิดา ผิวขาว มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความเหลื่อมล้ำ, บำเหน็จชราภาพ, ประกันสังคม, ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ประกันสังคมเป็นสวัสดิการประเภทหนึ่งที่รัฐจัดให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของคนในวัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรักษาพยาบาล คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน ทุพพลภาพ ชราภาพหรือกรณีเสียชีวิต อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ถกเถียงกันมาก ก็คือเรื่องบำเหน็จชราภาพ ซึ่งผู้ประกันตนส่วนใหญ่มีความหวังในการได้เงินสะสมจำนวนหนึ่งไปใช้ในชีวิตวัยเกษียณ เมื่อความต้องการมีมากขึ้นแต่ความเท่าเทียมทางสถานะของบุคคลไม่เท่ากัน จึงเกิดเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของความไม่เสมอภาคกันในทางกฎหมาย ซึ่งบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนภาคสมัครใจ ตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ แต่มิได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีชราภาพครอบคลุมครบเหมือนอย่างเช่นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39

วัตถุประสงค์ของผลการศึกษานี้ คือ (1) เพื่อให้เกิดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบเกี่ยวกับเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนกลุ่มนี้ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเทียบเท่ากับผู้ประกันตนประเภทอื่น (2) เพื่อให้การจัดระบบประกันสังคมตามมาตรา 40 แก่ผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพื่อช่วยแบ่งเบาให้แก่ผู้ประกันตนไว้ใช้ในยามที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว (3) เป็นการช่วยให้ผู้ประกันตนรู้จักวิธีการออมเงินทางอ้อมอีกวิธีการหนึ่ง และ (4) เพื่อก่อให้เกิดแนวทางในการขยายอายุเกษียณของผู้ประกันตนขึ้นใหม่ เป็นการยืดอายุของระบบประกันสังคมเพื่ออีกทั้งเกื้อหนุนรัฐให้มีการจัด สวัสดิการของผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระได้อย่างเหมาะสม

ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกันตนที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ประกอบอาชีพอิสระเจ้าของกิจการผู้ประกอบการและแรงงานนอกระบบที่มีอายุ 15 ถึง 65 ปีแต่ได้แจ้งความประสงค์ขอเป็นผู้ประกันตน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย: ศึกษารายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนจากหนังสือ เอกสาร วารสาร เว็บไซด์ ในด้านสวัสดิการต่างๆ ของกลุ่มอาชีพอิสระ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการรวบรวมสิทธิประโยชน์ของแรงงานนอกระบบในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยอาศัยข้อมูลจากประเด็นสิทธิของมนุษย์อันเกี่ยวกับสวัสดิการทางสังคม

ผลการวิจัย: ผู้ประกันตนแต่ละกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันตามจำนวนเงินที่ส่งเข้าระบบประกันสังคม โดยในกลุ่มที่ 2 และ 3 จะเป็นกลุ่มที่ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนหรือลาออก แต่ผู้ประกันตนในกลุ่มที่ 1 จะได้รับบำเหน็จผลตอบแทนใดๆ หลังจากสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน จึงทำให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของกลุ่มอาชีพอิสระที่ส่งเงินเข้าระบบประกันสังคมที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

สรุปผล: ระบบประกันสังคมควรจัดให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ประเภทกลุ่มที่ 1 ควรได้รับค่าทดแทนหรือเงินบำเหน็จชราภาพด้วยเช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้ประกันตนกลุ่มที่ 2 และ 3 โดยได้รับในอัตรา 50%ของจำนวนเงินที่จ่ายสมทบ เพื่อเป็นนำเงินเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้เพิ่มขึ้น และสามารถออมเพิ่มได้ในจำนวนที่ไม่มากจนเกินไป ส่งผลให้ผู้ประกันตนมีเงินก้อนไว้สำหรับตนเองในอนาคต

References

กรุงเทพธุรกิจ. 24 เมษายน 2567 www.bangkokbiznews.com/health/labour/1123708

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. ข้อ 22 ในฐานะสมาชิกของสังคมด้วยความเพียรพยายามของชาติตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศและโดยการสอดคล้องกับการระเบียบและทรัพยากรของแต่ละรัฐ บุคคลมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคมและชอบที่จะได้รับแห่งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งจำเป็นต่อศักดิ์ศรีและการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเสรีของตน.

ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กองวิชาการและแผนงาน สำนักงานประกันสังคม.(2538). บทความแปล เรื่อง แนวทางการดำเนินงานประกันสังคมในประเทศญี่ปุ่น และระบบประกันสังคมของฟิลิปปินส์ใน ค.ศ.2000. กรุงเทพฯ: สำนักงานประกันสังคม. หน้า 1.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2535). การแก้ไขกฎหมายประกันสังคม ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง กฎหมายประกันสังคม: ปัญหาและประเด็นที่ควรแก้ไข. กรุงเทพฯ: สมาคมกฎหมายแรงงาน. หน้า 5.

ศักดิ์ศรี บริบาลบรรพตเขตต์. (2535). ระบบความมั่นคงทางสังคม. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 43.

สมาคมนานาชาติ จ.อิบารากิ ศูนย์ให้คำปรึกษาชาวต่างชาติ. การยื่นเรื่องที่จำเป็น ณ เขตปกครองในท้องที่, https://global.ia-ibaraki.or.jp › government-office

สันโดษ เต็มแสวงเลิศ. (2530). การเมืองในการริเริ่มนโยบายประกันสังคมของไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 34.

อ้างถึงใน บุญชนะ อัตถาวร.(2517). แนวปรัชญาในการประกันสังคม. นนทบุรี: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด. หน้า 4.

โสรญา พิกุลหอม.(2558).“สิทธิประโยชน์ของแรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533” สำนักวิชาการ สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2567 https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=51833&filename=house2558

สำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว

https://japan.mol.go.th › uploads › sites › 2020/08

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

Policywatch.thaipbs. สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน มาตรา 40 : 6 กรกฎาคม 2567. > https://www.thaipbs.or.th › ข่าว › สังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20

How to Cite

ลีโรจนวุฒิกุล ช. ., ทิพย์มนเทียร ก. ., & ผิวขาว ส. . (2025). ความเหลื่อมล้ำเงินบำเหน็จชราภาพในระบบประกันสังคมของผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ. Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 355–368. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/281296

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ