การศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
ความเชื่อมั่นในตนเอง, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) ศึกษาการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเองกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 26 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 83 คน ห้องที่ 1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 จำนวน 42 คน ห้องที่ 2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 41 คน ซึ่งได้โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง แบบทดสอบการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเองกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้วิธีการศึกษาเฉพาะรายกรณี (Case Study Method) โดยนำเสนอข้อมูลด้วย วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analytics)
ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 66.26 รองลงมาอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 20.49 และอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 13.25 (2) การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 49.40 (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเองกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .855 และ จากการศึกษาแนวคิดในการหาคำตอบของนักเรียนที่มีระดับความเชื่อมั่นในตนเองแตกต่างกัน พบว่านักเรียนที่อยู่ในระดับสูง มีความมั่นใจในการตอบคำถาม มีการแก้ไขปัญหาเป็นลำดับและมีเหตุผล สามารถอธิบายการคิดและการแก้ไขปัญหาได้ สามารถใช้ทักษะการคิด การคำนวณได้อย่างถูกต้อง นักเรียนที่อยู่ในระดับปานกลาง มีความมั่นใจในการตอบคำถามบ้าง มีการแก้ใขปัญหาเป็นลำดับและมีเหตุผล แต่ไม่สามารถอธิบายการคิดและการแก้ไขปัญหาได้ แต่นักเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ และนักเรียนที่อยู่ในระดับต่ำ ไม่มีความมั่นใจในการตอบคำถาม ไม่มีการแก้ไขปัญหาเป็นลำดับและมีเหตุผล บางคนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาแต่ไม่สามารถใช้ทักษะในการคิดการคำนวณในการแก้ไขปัญหาได้
References
Chantarasonthi, U. (2013). Mathematical content and knowledge. Nonthaburi:
Sukhothai Thammathirat Open University.
Department of Academic Affairs. (2002). Learning management manual for mathematics subject group. (3rded). Bangkok: Ministry of Education.
Hogan, M and Alejandre, S. (2010). Problem Solving-It Has to Begin with Noticing and Wondering. CMC ComMuniCator, 35(2), 31-33.
Hongphan, T. (1996). The way of the graduate: owning one's own people and holding one's job. Nakhon Ratchasima: Somboon Offset Printing.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2007). Mathematics skills/processes. Bangkok: Teacher Printing House Ladprao.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2008). Examples of science evaluations International: PISA and TIMSS. Bangkok: Arun Publishing.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Skills and Process Mathematically. Bangkok: 3-Q Media.
Krulik, S. and Reys, R. E. (1980). Problem Solving in School Mathematics: National Council of Teacher of Mathematics 1980 Year Book. Reston, VA: National Council of Teacher of Mathematics.
Krulik, S. and Rudnick, J. A. (1992). Reasoning and Problem - Solving. A Handbook for Elementary School Teachers. Boston: Allyn and Bacon.
Kuptabjian, R. (1985). "Self-confidence". Khon Kaen: Khon Kaen University.
Makanong, A. (2011). Mathematics skills and processes: development for development. Bangkok: Chulalongkorn University.
Piyaacchariya, L. (1999). Development of children's self-confidence. Bangkok: Sukhothai
Thammathirat Open University.
Polya, G. (1985). How to solve it 2nd ed. New Jersey: Princeton University Press.
Smith, H. C. (1961). Personality adjustment. New York: McGraw-Hill.
Thammasin, V. (1984). Creating a personality test for self-confidence for Mathayom 3 students, Chiang Mai Province. Bangkok: Srinakharinwirot University Prasarnmit.
Wiangkamol, Y. (1998). Results of self-assessment using portfolios on self-confidence of Grade 6 students with low academic achievement. Master’s thesis : Primary Education Department Graduate School Chulalongkorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ