กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ อันปัญญา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา, การส่งเสริมความเป็นเลิศ, ความเป็นเลิศด้านกีฬา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา 3) เพื่อยกร่างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) 2. ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 226 คน 3. ยกร่างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 7 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ยกร่างกลยุทธ์ฯ และตรวจสอบยืนยัน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกสนทนากลุ่ม และแบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นฯ แบบบันทึกการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำอาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น

              ผลการวิจัย พบว่า

  1.           1. ผลการศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา พบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2) ภาวะผู้นำ 3) การพัฒนาศักยภาพ 4) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ 5) การปรับปรุงคุณภาพ ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46)
  2.           2. ผลการศึกษาสภาพปัญหา ของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.49) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา โดยภาพรวมมีค่า (PNImodified = 0.23) เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 มี 3 ด้าน คือ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านภาวะผู้นำและด้านการพัฒนาศักยภาพ ลำดับที่ 2 มี 2 ด้าน คือ ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และด้านการปรับปรุงคุณภาพ ตามลำดับ
  3. 3. กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬาโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1) กลยุทธ์การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์รอง 5 แนวปฏิบัติ กลยุทธ์หลักที่ 2) กลยุทธ์ภาวะผู้นำ ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์รอง 4 แนวปฏิบัติ กลยุทธ์หลักที่ 3) กลยุทธ์พัฒนาศักยภาพ ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์รอง 4 แนวปฏิบัติ กลยุทธ์หลักที่ 4) กลยุทธ์การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์รอง 4 แนวปฏิบัติ กลยุทธ์หลักที่ 5) กลยุทธ์การปรับปรุงคุณภาพ ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์รอง 4 แนวปฏิบัติ และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

References

Bangthamai, W. (2014). Sports personnel development institute model of the Sports Authority of Thailand. Journal of Sports Science and Technology. 13(1), 75-88.

Bohlke, N. and Robinson, L. (2009). Benchmarking of elite sport systems. Management Decision, 47(1), 67–84.

Jintasakul, S. (2011). Total Quality Management (TQM) in Sports. International Journal of Movement Education and Social Science, 6(2), 275-288.

Ministry of Tourism and Sports. (2010). Strategic plan for building Thai sports towards excellence (2010 - 2016). Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.

Ministry of Tourism and Sports. (2012). National Sports Development Plan No. 5 (2012 - 2016). Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). National Sports Development Plan No. 6 (2017 - 2021). Bangkok: War Veterans Organization Printing House.

Molina, L.M, Ns-Montes, J.L., & Ruiz-Moreno, A. (2007). Relationship between quality management practices and knowledge transfer. Journal of Operations Management, 25(3), 682-701.

Nikorn Silae. (2008). Conditions and management problems of sports centers for excellence. Institute of Physical Education Ministry of Tourism and Sports Case study in the central region (Doctor of Philosophy). Chonburi: Burapha University.

Prajogo, Daniel I., Amrik Sohal S. (2004). The multidimensionality of TQM practices In determining quality and innovation performance an empirical examination. N.p.

Rodma, K. (2014). Total Quality Management (TQM) in Sports. International Journal of Movement Education and Social Science, 6(2), 145-190.

Sasiprapa, P. (2011). Total quality management in education. London: Kogan.

Suksan, C. (2018). Principles of Management in Macedonian. Faculty of Economics: Macedonia.

Suksan, C. (2018). Principles of Management in Macedonian. Faculty of Economics: Macedonia.

Tenner & Detoro (1992). Total Quality Management: three steps to Continuous improvement. Massachusetts: Addison-Wesley Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-18

How to Cite

อันปัญญา ว. (2024). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น. Journal for Developing the Social and Community, 11(2), 1–18. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/278298