ประสิทธิผลของการนำนโยบายพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วน ตำบลไปปฏิบัติในจังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล นโยบายพัฒนาตำบล , ประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดหนองคายไปปฏิบัติ 2) เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดหนองคาย และ 3) เสนอแนวทางประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติในจังหวัดหนองคาย โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดหนองคาย จำนวน 400 คน ได้จากการใช้สูตรกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นสมรรถนะขององค์การ 8 ด้านและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ 7 ด้านรวม 15 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.85, S.D.=0.518) เมื่อพิจารณารายด้านจากระดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านสถานที่ ด้านงบประมาณ ด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านบุคลากร ด้านวัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องมือเครื่องใช้ และด้านทรัพยากร อยู่ในระดับมาก ความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติ ด้านนโยบาย ด้านการมอบหมายงาน ด้านผู้บริหาร ด้านสภาพแวดล้อม ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผนและการควบคุม และด้านการตรวจตราและประเมินผล อยู่ในระดับกลาง ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ โดยภาพรวม (Y) ได้แก่ตัวแปร ด้านงบประมาณ (X3) ด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (X6) ด้านทรัพยากร (X7) ด้านนโยบาย (X9) และ ด้านผู้บริหาร (X11) โดยมีสัมประสิทธิ์ถดถอย 0.402 0.512 0.431 0.622 และ 0.355 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.83 สามารถทำนายผลได้ร้อยละ 83 และ 3) ข้อเสนอแนะสรุปได้ว่า ฝ่ายบริหารควรติดตามประเมินผลการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ควรเชิญผู้เชียวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเป็นคณะกรรมการในการประเมินผลงาน มีการกำหนดตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรมและมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลและการวางแผนเชิงเครื่องข่ายมาช่วยสนับสนุนด้านการกำกับดูแล และควรมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งอาจขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่ายงานภาคการศึกษา เพื่อให้การสำรวจความพึงพอใจมีความสมบูรณ์ในทุกมิติ
References
Bertalanffy, L.V. (1956). Organismic Psychology and Systems Theory. Barre, Mass: The Clark University Press.
Chantarasorn, W. (2005). Theory of public policy implementation. Bangkok: Publisher's Blog.
Chantarasorn, W. (2008). Theory of public policy implementation. (2nd edition). Bangkok: Company Phrikwan Graphics Co., Ltd.
Edward and Sharkansky. (1978). The Policy Predicament: Making and Implementation Public Policy. San Francisco: W.H. Freeman and Company
Fueangchan, S. (2009). Public policy Theory and practice. Bangkok: On Art Creation.
Gibson. et al. (1988). Organization. 6th ed. Texas: Business.
Mazmanian and Sabatier. (1980). The Implementation of Public Policy: A Framework of Analysis. Policy Studies Journal Contents. Special Issue.
Rodcharoen, P. (2020). Qualifications of academics of supported educational institutions of educational institutions in the Secondary Educational Service Area Office 9, Nakhon Pathom Province. Journal of Social Science Research. 10(2) (July - December 2020): 62-82.
Schein, E. H. (1992). Organizational Culture and Leadership. (2nd edition.). San Francisco: Jossey –Bass
Steer. et al. (1985). Managing effective organization: An introduction. Boston: Kent Publishing
Thamrongthanyawong, S. (2009). Public policy concepts, analysis and processes. (2nd edition).
Faculty of Public Administration, National Institute of Development Administration: Sematham Publishing House.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ยุทธนา ศรีตะบุตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ