วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองและการสื่อสารทางการเมืองส่งผลต่อความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วรกิจ เหลืองมาตรฐาน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย, จังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความศรัทธาในการเมืองระบอบประชาธิปไตยของประชาชน 2) เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง และการสื่อสารทางการเมืองที่ส่งผลต่อความศรัทธาในการเมืองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนและ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดนครปฐม โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประชาชน จำนวน 400 คน ได้จากสูตรของ Taro Yamane สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ นายอำเภอจำนวน 14 คน เลือกแบบเจาะจง

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมือง 10 ด้าน อยู่ในระดับมาก (=3.70, S.D.=1.015) ได้แก่ นิยมระบบเจ้านายกับลูกน้อง, ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ, มีการจัดลำดับฐานะในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, การยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม, ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง, การรักสงบและการประนีประนอม, สร้างทัศนคติทางการเมือง, สร้างความสนใจในการเมือง, สร้างความรู้และความเข้าใจทางการเมือง และสร้างบทบาททางการเมือง ตามลำดับ 2) วัฒนธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย 8 ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในระดับมาก (=3.78, S.D.=0.817) ได้แก่ มีความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย, ยึดมั่นและเชื่อถือในหลักความสำคัญและศักดิ์ศรีของบุคคล, เคารพในกติกาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย, การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการปกครอง, มีความสำนึกในหน้าที่พลเมืองของตนและมีความเชื่อมั่นในตนเอง, มองโลกในแง่ดี, วิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และไม่มีจิตใจเป็นเผด็จการ ตามลำดับ และ 3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยวัฒนธรรมทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมืองที่มีผลต่อการเมืองระบอบประชาธิปไตยของของประชาชน ได้แก่ ตัวแปร ด้านยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ(X2) ด้านการยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม(X4) ด้านสร้างทัศนคติทางการเมือง(X7) และด้านสร้างบทบาททางการเมือง(X10) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย 0.612 0.605 0.502 และ 0.405 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.722 สามารถทำนายผลได้ร้อยละ 72.2 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ =3.732+0.612(X2)+0.605(X4)+0.502(X7)+0.405(X10) และ สำหรับสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน มีค่าสัมประสิทธิ์ 0.758 0.541 0.324 และ 0.312 ตามลำดับ สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน  =0.758(X2)+0.541(X4)+0.324(X7)+ 0.312(X10) ตามลำดับ

References

Almond, G.A. & Verba, S. (1965) The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little, Brown and company.

Chaisriha, P. (2018). Guidelines for developing the people's democratic political culture In Chum Phae Municipality Khon Kaen Province. Journal of Mahachula Khon Kaen Graduate Studies. 5(2), (July - December 2018), 243-261.

Chamrik, S. (1997). Thai politics and constitutional development. (2nd edition). Bangkok: Social Sciences and Humanities Textbook Project Foundation. Thammasat University.

Chotiwetsaysin, P. (2019). Political communication strategies of General Prayut Chan-o-cha, the Prime Minister who seized power under the crisis of political conflict. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Edition. 8(1), (January-June), 15-25.

Chuphet, C. (2006). Thai politics and government: from the Sukhothai era to the Thaksin era. (5th edition). Pathum Thani: Punch Group.

Diamond, L. (1999). Developing Democracy:Toward Consolidation. Baltimore: The Johns Hopkins University Press, p.74.

Kerdsomsri, P. & Pannan, P. (2020). Guidelines for developing public relations communication strategies through social media for the “Community Market for Local Businesses” Thailand. Journal Romphruek Krirk University. 38(1). (January - April) 22-33.

Nakata, T. (1998) Political Science: Theory, Concepts, Important Problems, and Guidelines for Studying and Analyzing Politics. (4th edition). Bangkok: Documents and Textbooks Project Public Administration Association NIDA, 1998. page 209.

Nakata, T. (2000). Thai democracy. (2nd edition). Bangkok: Documents and Textbooks Project. Faculty of Public Administration National Institute of Development Administration.

Phonsayom, A. (1986). Political culture of district level civil servants. Study only the case of Phayak Phum Phisai District Maha Sarakham Province. Thammasat University.

Thamrongthanyawong, S. (1995). Political Attitudes of Youth in Bangkok. Office

of the National Youth Promotion and Coordination Commission.

Yima, B. (2007). Local government in Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

เหลืองมาตรฐาน ว. . (2024). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองและการสื่อสารทางการเมืองส่งผลต่อความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดนครปฐม . Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 735–750. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/277256