โครงสร้างพื้นฐานและการเมืองภาคพลเมืองที่ส่งผลต่อ การพัฒนาประชาธิปไตยของชุมชนในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • เบญญารัศม์ ศุภาพงศ์งามสิริ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การเมืองภาคพลเมือง, การพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง โครงสร้างพื้นฐานและการเมืองภาคพลเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของชุมชนในจังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการเมืองภาคพลเมืองและประชาธิปไตยของชุมชน 2) วิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานและการเมืองภาคพลเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนในจังหวัดราชบุรี โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประชาชนในจังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ได้จากการใช้สูตรกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์นายอำเภอจำนวน 10 คนโดยเลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยข้อมูลพื้นฐาน และปัจจัยการเมืองภาคพลเมือง รวม 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก (=3.68, S.D.=1.018) เรียงลำดับจากมากไปน้อยเป็นดังนี้ ความรับผิดชอบตนเองและพึ่งได้ เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพความแตกต่าง เคารพหลักความเสมอภาค เคารพกติกา รับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม โครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคม และลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยของชุมชนในจังหวัดราชบุรี 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก (=3.95, S.D.=0.865) เรียงลำดับจากมากไปน้อยเป็นดังนี้ ยึดหมู่บ้านหรือชุมชนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ยึดหลักความร่วมมือ 3 ฝ่าย (ท้องที่ ท้องถิ่นและชุมชน) ต้องสอดคล้องกับวิถีของชุมชน มีลักษณะเป็นกระบวนการและมีความต่อเนื่อง จัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนเพื่อเป็นกรรมการกิจการสภา ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง และประสานเชื่อมโยง เวทีตำบล จังหวัด ระดับชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลัง 2) โคงสร้างพื้นฐานและการเมืองภาคพลเมือง รวม 8 ด้านที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของชุมชนในจังหวัดราชบุรี โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ตัวแปรโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคม(X1) ความรับผิดชอบตนเองและพึ่งได้(X3) เคารพหลักความเสมอภาค(X6) รับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม(X8) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย 0.512 0.402 0.372 และ 0.315 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.94 สามารถทำนายผลได้ร้อยละ 88 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ =9.032+0.512(X1)+0.402(X3)+0.372(X6)+0.315(X8) สำหรับสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ซึ่งเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์จากมากไปน้อย 0.658 0.441 0.334 และ 0.312 ตามลำดับ สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตราฐานดังนี้ =0.658(X1)+0.441(X3)+0.334(X6)+0.312(X8) และ 3) แนวทางเพื่อการปรับปรุง ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันตัดสินใจร่วมกัน โดยผ่านกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาแนวคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกับการเมืองภาคพลเมือง

References

Boonsuaykwan, R. (2013). Civic politics: review of literature to create indicators or indicators of civic politics. Journal of Humanities and Social Sciences Rajabhat University Surat Thani, 6(2).

Daniel Arghiros. (2001). Democracy, Development and Decentralization in Provincial Thailand. Great Britain:Biddles Ltd.

Laothamthat, A. (2008). Civil politics. (2nd edition). Bangkok: King Prajadhipok's Institute

Mansap, S. (2007). Education to create citizens: the foundation of civic politics. Journal of the King Prajadhipok's Institute. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Phra Tam Pidok, P.A. (2000). Buddhadhamma, revised and expanded edition. (9th edition). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya.

Pinprathip, P. (2008). Strong communities and civil society. Bangkok: Sri Muang Printing

Roopsung, S. (2010). Community democracy. Documents from the Office of the Political Development Council. King Prajadhipok's Institute.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory analysis. New York: New York: Harper & Row

Thananithichot, S. (2012). Creating national reconciliation: a case study of South Korea. Bangkok: Office of Research and Development. King Prajadhipok's Institute.

Thewanaruemitkul, P. (2012). Education to create citizens. Thammasat University. Sanya Thammasak Institute for Democracy.

Thewanaruemitkul, P. (2013). Handbook for organizing activities in subjects to create "citizens" in a democratic system. Workshop documents “Techniques for organizing citizenship teaching into practice” 15 March 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

ศุภาพงศ์งามสิริ เ. . . (2024). โครงสร้างพื้นฐานและการเมืองภาคพลเมืองที่ส่งผลต่อ การพัฒนาประชาธิปไตยของชุมชนในจังหวัดราชบุรี. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 721–734. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/277255