การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่องงานประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์, การเรียนรู้แบบเชิงรุก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก เรื่องงานประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกมีค่าเฉลี่ยการคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Harris, B.M. (1985). Supervisory Behavior in Education (2nd ed.). Englewood Cliff, New Jersy: Prentice-Hall.
Ministry of Education. (2010). Basic Education Core Curriculum B.E. 2008 (2nd printing). Bangkok: Agricultural Cooperative Printing House of Thailand Co., Ltd.
Nongpok Wittayalai School. (2022). Self-assessment report of educational institutions for the academic year 2022. Roi Et: Nongpok Wittayalai School.
Phawachoti, Y. (2020). Development of active learning activities combined with English communication skills training kits to promote academic achievement and creativity of grade 5 students, e-Journal of Education Studies Burapha University ,2(4), 53-65.
Silangat, A. (2022). Development of creative thinking ability in science subjects using active learning management for Mathayom 1 students. Bangkok: Silpakorn University.
Thanachai, K. (2020). A comparison of creativity in the creation of objects using local waste materials in the Career and Technology Learning Area (Crafts) of Grade 6 students at Nong Saeng Khok Noi School between STAD collaborative learning and normal learning. Loei: Loei Rajabhat University.
Trirat, N. (2020). Development of an active learning activity model on social networks to promote creativity in higher education students, Journal of education : Faculty of Education : Srinakharinwirot University, 21(2), 130-142.
Wongsawan, C. (2020). Individual and group creativity of Mathayom 4 students who received active learning on genetics and DNA technology. Chonburi: Burapha University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ