กลยุทธ์การจัดการการตลาดส้มโอทับทิมสยามตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, ส้มโอทับทิมสยาม, จังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)พรรณนาสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาการจัดการการตลาดส้มโอทับทิมสยาม (ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการการตลาดส้มโอทับทิมสยาม (ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การจัดการการตลาดส้มโอทับทิมสยาม (ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวิธีการดำเนินการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจส้มโอทับทิมสยามที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจส้มโอทับทิมสยาม (ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มเกษตรกรรายย่อยผู้เพาะปลูกส้มโอทับทิมสยาม (ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) เพียงอย่างเดียว ของจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจส้มโอทับทิมสยาม (ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ของจังหวัดนครศรีธรรมราชและเป็นเกษตรกรรายย่อยผู้เพาะปลูกส้มโอทับทิมสยาม และ กลุ่มที่ 4 (หน่วยงานภาครัฐ) ประกอบด้วย นักวิชาการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการณ์ปัจจุบัน ส้มโอทับทิมสยาม ราคาไม่ดี มีการแข่งขันด้านราคาสูง เกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูก เป็นพืชที่สร้างรายได้ต่อพื้นที่ดีกว่าพืชชนิดอื่น แต่ไม่สามารถผลิตส้มโอได้ตามมาตรฐาน เกรดส่งออก (ราคาสูง) เนื่องจาก สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อผลผลิตที่ได้ เช่น ฝนตกบ่อย ทำให้ส้มโอเป็นโรคแคงเกอร์ ทำให้ผิวไม่สวยตามมาตรฐาน GAP (2) การใช้ส่วนประสมทางการตลาด 4 P's มาแก้ปัญหา รวมทั้งให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการตั้งราคากลางหรือควบคุมราคา หรือพยุงราคา เนื่องจากส้มโอทับทิมสยามมีปัญหา คือ ราคาถูกจนเกิน ช่วงที่ส้มโอทับทิมสยาม ออกผลผลิตพร้อมๆกัน (ส้มล้นตลาด) ทำให้เกษตรกรขาดทุน จากการถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง (3) กลยุทธ์การเจริญเติบโต (SO) จุดแข็ง : เป็นพืชเฉพาะถิ่น(ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) GI ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารสูง สร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงกว่าพืชชนิดอื่นที่ปลูกในพื้นที่ จุดอ่อน : มีการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GI คุณภาพดินเสื่อมสภาพ ค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกสูงเกษตรกรขาดความรู้ในการเพาะปลูกและการผลิต โอกาส : การตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการส้มโอทับทิมสยามที่มีใบรับรอง ( GI)และมีการผลิตตามมาตรฐาน (GAP) เป็นผลไม้เชื่อมโยงกับความเชื่อและค่านิยมของประเพณี เป็นพืชเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่อำเภอปากพนัง และมูลค่าของส้มโอทับทิมสยามในตลาดสูงสส่งผลให้กำหนดราคาได้สูงมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนเกษตรกรในการเปิดตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งมีการสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร อุปสรรค: สภาพภูมิศาสตร์มีผลกระทบต่อการเพาะปลูกและการผลิตผลิตส้มโอทับทิมสยามให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP เช่นอุทกภัยภัยแล้งโรคระบาดและพายุฝน มีสินค้าทดแทนในภูมิภาคภายในประเทศช่วงผลไม้ออกตามฤดูกาล มีสินค้าทดแทนจากต่างประเทศหรือประเทศใกล้เคียงที่ส่งผลกระทบต่อราคาส้มโอทับทิมสยามสยามในตลาดปลายทาง มีกฎหมายการค้าระหว่างประเทศในการควบคุมการส่งออก มีการสวมสิทธิ์ใบรับรองจีไอของส้มโอทับทิมสยาม มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาดเพื่อค้าขายส้มโอทับทิมสยามสยามเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีการลักขโมยส้มโอทับทิมสยามจากต้น ส้มโอทับทิมสยามที่ไม่ใช่เกรดส่งออกจะล้มตลาดเมื่อออกตามฤดูกาล
References
Chitra Phetwong. (1993) Consumer attitudes towards mobile phones. Bangkok : Siam University.
Kitthawat Boontawee, Pikanit Chotiwanich and Ekasit Onsaard. (2021). Entrepreneurship, management, knowledge, marketing strategies. Innovation capabilities and performance of organic farming businesses in Thailand. Journal of Agricultural Research and Extension. 38(1), 108-125.
Lodsopa, K. (2022). Marketing strategies and consumer purchasing intentions. MCU UBONRATCHATHANI JOURNAL OF BUDDHIST STUDIES.7(2), 697-706.
Munsri, K. (2019). McKinsey 7s Conceptual Framework and Total Quality Management. That affects business results. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies. 8(1), 40 – 53.
Sirithon Buakong (2016) Siam Ruby Pomelo, a billion-dollar economic crop. Nonthaburi : DK Publishing.
Thinprabat, C. (2021). Krung durian takes the future of Thai agriculture to foreign markets. Journal of Human Society. 10(2), 54-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ฐิติวินท์ เกียรติ์เมธา, ชัชวาล แสงทองล้วน, กาญจนา พันธุ์เอี่ยม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ