รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายหาด บ้านบางดีเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ณธกฤต เอนกภัทรพร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ไพศาล วรคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายหาดบ้านบางดีเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และการสร้างรูปแบบ รวมทั้งประชาพิจารณ์รูปแบบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ โดยใช้แบบประเมินกับผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน และ 3) การทำประชาพิจารณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมี 4 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) ด้านพื้นที่ทรัพยากร มี 5 ตัวบ่งชี้ (2) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มี 5 ตัวบ่งชี้ (3) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว มี 5 ตัวบ่งชี้ และ (4) ด้านการมี ส่วนร่วมของชุมชน มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายหาดบ้านบางดีเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) กิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ (3.1) กิจกรรมส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3.2) กิจกรรมส่งเสริมมัคคุเทศก์น้อยของชุมชน ชายหาดบ้านบางดีเสาเภา (3.3) กิจกรรมเสวนาเพื่อพัฒนาชุมชน ชายหาดบ้านบางดีเสาเภา (3.4) กิจกรรมส่งเสริมผู้นำชุมชน และ (4) แนวทางการวัดและประเมิน โดยรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการทดลองประชาพิจารณ์รูปแบบ พบว่า ประชาชนเห็นด้วยกับการจัดกิจกรรม ของรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ชายหาดบ้านบางดีเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

References

Chaikul, S. (2017). Community-based ecotourism management model in the southern region of the Andaman Sea. Bangkok : Ramkhamhaeng University.

Department of Tourism Ministry of Tourism. (2014). Manual for evaluating quality standards of cultural tourist attractions. (2nd ed). Bangkok: Printing House of the Veterans Synthetic Organization under Royal Patronage.

Jinda, S. (2018). Development of a model for public participation in the strategic management of education in Pattaya City. Chonburi Province. Chonburi : Burapha University.

Ministry of Natural Resources and Environment. (2011). Policy and plans. Bangkok : Ministry of Natural Resources and Environment.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). Tourism Development Plan No. 2 (2017-2021). Bangkok : War Veterans Organization Printing House.

Nakhon Si Thammarat Provincial Administrative Organization. (2022). Tourism development master plan. Nakhon Si Thammarat Province 2023-2027. Nakhon Si Thammarat : Office of the Permanent Secretary of the Provincial Administrative Organizatio.

Non-Formal Education, Sao Phao Subdistrict. (2020).Community Learning Center Operations Manual. Bangkok : People's Publishing House.

Office of Industrial Economics. (2020). Complete report. Project to create comparative industry data to increase competitiveness (Tourism field). Bangkok: Ministry of Industry.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). National Economic and Social Development Plan No. 12 2017-2021. Bangkok : Office of the Prime Minister.

Tourism Authority of Thailand. (2011). The future of technology in the tourism industry (Part 1). TAT Review Magazine. 10(4),10-13.

Yajaiman, C. (2017). Ecotourism management model with community participation in the Royal Project area. Case study: Ban Doi Sa Ngo. Chiang Saen District Chiang Rai Province. Kasalongkham Research Journal Chiangrai Rajabhat University, 11(2), 49 - 64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22

How to Cite

เอนกภัทรพร ณ. ., เรืองสุวรรณ ช. ., & วรคำ ไ. . (2024). รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายหาด บ้านบางดีเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 205–228. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/275195