รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เชิดชัย พลกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ, การจัดการเรียนรู้ ตกผลึกทางปัญญา, เศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และ 3) ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในปีการศึกษา 2564 มีบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 18 คน นักเรียนจำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก  แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของรูปแบบ และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

           ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กิจกรรมสำคัญที่เสริมประสิทธิภาพการดำเนินภารกิจของเครือข่าย 2) เทคนิค/ วิธีการพัฒนาสมาชิกเครือข่าย 3) กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ 4) คุณลักษณะที่ดีของผู้นําเครือข่าย 5) การปฏิบัติงานของเครือข่ายและการสะท้อนผล (2) รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย กระบวนการสร้างเครือข่าย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตระหนักถึงความจําเป็นในการสร้างเครือข่าย 2) ขั้นประสานหน่วยงานองค์กรเครือข่าย 3) ขั้นสร้างพันธสัญญาร่วมกัน 4) ขั้นบริหารจัดการเครือข่าย 5) ขั้นพัฒนาความสัมพันธ์ และ 6) ขั้นรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ส่วนองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ได้แก่ 1) กิจกรรมสำคัญที่เสริมประสิทธิภาพการดำเนินภารกิจของเครือข่าย 2) เทคนิค วิธีการพัฒนาสมาชิกเครือข่าย 3) กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) 4) คุณลักษณะที่ดีของผู้นําและสมาชิกเครือข่าย และ 5) การปฏิบัติงานของเครือข่ายและการสะท้อนผล และ (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม พบว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

Chanbanjong, C. (2002). A study of administrative and educational management practices of local government organizations in Japan. Bangkok : Amarin Printing and Publishing.

Charoenwongsak, K. (2002). Network management: key strategies for success. Bangkok : S. Asia Place.

Ministry of Education. (2010). Guidelines for organizing learning. According to the Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly Press of Thailand.

Ministry of Education. (2018). Basic Education Core Curriculum, B.E. 2008 (Edition. Revised B.E. 2017). Bangkok : Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Publishing House.

Office of the Basic Education Commission. (2006). Guidelines for evaluating according to actual conditions. Bangkok : Agricultural Cooperatives Association of Thailand Printing Press.

Phra Maha Sutit Apakro. (2004). Networks: nature, knowledge and management. Bangkok : Project to Enhance Learning for Happy Communities (SSO).

Support Fund Office Health Promotion (2010). Health-loving community newsletter: Creating Happiness. 7(105).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

พลกุล เ. ., เรืองสุวรรณ ช. ., & ปฐมวณิชกุล ว. . (2024). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 529–548. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/272722