การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ ที่ส่งเสริมทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์, ทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ ที่ส่งเสริมทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณให้มีประสิทธิภาพกับเกณฑ์ 70/70 เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณหลังเรียนเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 จำนวน 32 คน โรงเรียนหนองเรือวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณ 5 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบจำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ (One-Group Posttest Design) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ ที่ส่งเสริมทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 78.56/86.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนทักษะปฏิบัติการบรรเลงพิณที่ผ่านเกณฑ์ 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.66 ไม่ผ่านเกณฑ์ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.34 โดยภาพรวมคะแนนคิดเป็นร้อยละ 81.25 ( = 16.25, S.D. = 1.81) 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ไม่ผ่านเกณฑ์ 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 โดยภาพรวมคะแนนคิดเป็นร้อยละ 90.62 . ( = 18.13, S.D. = 1.95) 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ ค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.10)
References
Kaemmanee, T. (2008). Diverse Teaching Methods (5th edition). Bangkok: Active Print Limited.
Khaipromrat, P. & Pengsri, T.. (2020). Thai music learning activities for students in Mathayom 2 according to Simpson's skill development concept. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 2 (10), 67.
Kitrakan, P. (2001). Analysis of the Effectiveness of Media and Technology in Education (E1/E2). Educational Assessment. Mahasarakham: Mahasarakham University.
Kongsinkaew, P. (2014). Development of learning activity plans using skill exercises. Playing a musical instrument from the northeastern region (Pin), basic art subjects. Silathong Pittayasan School, Mueang District, Yasothon Province
Phonkhet, Y. . (2021). Development of a training kit for Isan folk music playing skills for students.1st year, Roi Et College of Dramatic Arts. Thesis. Bunditpatanasilpa Institute.
Pubanchuen, M. (2013). Development of Learning Activities for the Arts Curriculum, Topic: Traditional Isan Music, Grade 5, following the concept of Solatankodayi. Sukhothai
Sukniyom, M. (2017). Development of keyboard instrument practice skills. Art learning group Mathayom 1 level by organizing learning according to Davies' concepts. [Master of Education Thesis, Rajabhat mahaSarakham University].
Wangpanich, P. (1990). Educational Assessment. Bangkok: Educational Testing and Psychometrics Office, Srinakharinwirot University.
Wongngam, K. (2019). A Comparative Study of Practical Skills According to the Teaching Styles of Thai Wisdom Teachers and Conventional Teaching : The Case of Traditional Isan Music for Grade 4 Elementary School Students. Mahasarakham Rajabhat University.
Worrakam, P. (2010). Teaching materials for the subject of statistics for research. Mahasarakham: Mahasarakham Rajabhat University.
Worrakam, P. (2009). Educational Research. Kalasin: Publishing Coordination.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 อโนชา เพียเพ็ง, พิทยวัฒน์ พันธะศรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ