รายงานวิจัยในชั้นเรียน “การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์วรรณกรรมนิราศของนักศึกษา วิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”

ผู้แต่ง

  • สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, ผลงานสร้างสรรค์, วรรณกรรมนิราศ

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์จากการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน
และเป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาสำหรับปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไปรายงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง“การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์วรรณกรรมนิราศของ
นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาภาษาไทย คณะ ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของการสร้างสรรค์
วรรณกรรมนิราศ โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อคือ คำนึงถึงสิ่งรัก รู้จักสถานที่ วิถีแห่งชีวิต ความคิด และเหตุการณ์ เพื่อวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ของการสร้างสรรค์วรรณกรรมนิราศ โดยแบ่งเป็น
3 หัวข้อคือสร้างสรรค์รสกำหนดเสียงและเทียบเคียงความหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น วรรณกรรมนิราศจำนวน 25 เรื่อง ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่เรียนวิชาวรรณกรรมนิราศ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  1. การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา จากผลการศึกษาวรรณกรรมนิราศทั้ง 25 เรื่องดังกล่าวที่พบว่าการนำเสนอเนื้อหาในท่วงทำนองการแต่งนิราศซึ่งปรากฏภาพรวมจากจำนวนครั้ง

ตามหัวข้อ คือ คำนึงถึงสิ่งรัก จำนวน 75 ครั้ง รู้จักสถานที่จำนวน 106 ครั้ง วิถีแห่งชีวิตจำนวน 57 ครั้ง และความคิดและเหตุการณ์จำนวน 59 ครั้ง แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจใน “ขนบ” ของการแต่งนิราศที่ถือเป็นลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมประเภทนี้คือเน้นในการพรรณนาอารมณ์รัก
คิดถึงอันเกิดจากการพลัดพราก และมีการเดินทางผ่านไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการบรรยาย เกี่ยวกับสถานที่มากที่สุด ลำดับต่อมาคือเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์รัก คิดถึง และพลัดพราก ส่วนเรื่อง วิถีแห่งชีวิตและความคิดและเหตุการณ์ก็นับว่าปรากฏขึ้นมากเช่นเดียวกับแสดงให้เห็นว่า
นักศึกษาให้ความสำคัญกับการสังเกตและนำเอาข้อมูลจากสถานที่มานำเสนอและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิด โรคระบาดไวรัสโคโรนา (โควิด 19) การกล่าวถึงสภาพของสังคม เศรษฐกิจและการเมือง วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ซึ่งปรากฏอยู่ในนิราศหลายเรื่อง สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันนักศึกษาปัญญาชนคนรุ่นใหม่ กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ด้วยสำนึก ห่วงใยส่วนรวมมากยิ่งขึ้น

  1. การวิเคราะห์ด้านสุนทรียศาสตร์ จากผลการศึกษาวรรณกรรมนิราศทั้ง 25 เรื่อง ดังกล่าวที่พบว่า การสร้างสรรค์รส ที่ปรากฏมากที่สุดคือ “รสแห่งความรัก” จำนวน 89 ครั้ง ลำดับต่อมาคือ “รสแห่งความ เศร้าโศก” จำนวน 34 ครั้งแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพรรณนานิราศที่เน้นอารมณ์รักเป็นหลักและเมื่อต้องพลัดพรากจากกันนั้นย่อมมีอารมณ์ โศกเศร้าโหยหาตามมาเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นการปรากฏคำที่แสดงความเศร้าโศกในลำดับรอง ลงมาจึงถือว่าสอดคล้องกับวิธีการนำเสนอตามทำนองนิราศ การกำหนดเสียง มีการใช้สัมผัสสระ มากที่สุด จำนวน 2,290 ครั้ง ซึ่งนับเป็นทักษะการประพันธ์เบื้องต้นที่ใช้ในการ แต่งร้อยกรอง ในลำดับต่อมาคือการใช้สัมผัสอักษร จำนวน 530 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักศึกษามีทักษะเรื่อง ใช้คำและให้ความสำคัญในการเพิ่มความไพเราะให้บท ประพันธ์มากยิ่งขึ้น เทียบเคียงความหมาย มีการใช้โวหารอุปมามากที่สุดจำนวน 89 ครั้ง ปรากฏอยู่ใน วรรณกรรมนิราศทุกเรื่อง ซึ่งโวหาร ประเภทอุปมา (การเปรียบเทียบ)นั้นเป็นถ้อยคำที่ใช้กันโดยแพร่หลายทั่วไป   แม้ในชีวิตประจำวัน ก็ใช้ในการสื่อสารเมื่อต้องการชี้ให้เห็นหรือง่ายต่อการทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในลำดับต่อมา คือการใช้อธิพจน์ (การกล่าวเกินจริง) จำนวน 48 ครั้ง ซึ่งเป็นการกล่าวแทนความรู้สึกที่มีมากมาย เกี่ยวกับอารมณ์รักจนไม่สามารถสรรหาถ้อยคำ(ในความเป็นจริง)มาแทนได้

ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความเข้าใจมโนทัศน์เกี่ยวกับวรรณกรรมนิราศ
และเกิดทักษะจากการเรียนรู้ด้านการประพันธ์เป็นที่น่าพอใจ

 

 

References

Chiwapan, A. (2004). Language teaching. Bangkok : Chulalongkorn University.

Choktaweekij, S. (2017). Analysis of meaningful sounds in literature: A case study of Nirat London. Journal of Language and Linguistics, 35(2),45-76.

Eka, S. (2019). Teachers don't die. Bangkok : Good Head Printing & Packaging Group Co.,Ltd.

Nissa, P. (2022). Nirassida: The tradition of lamentation according to Sanskrit literary theory. Parichart Journal, 33(2), 93-106.

Office of Academic Promotion and Registration Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (2011). Manual for developing and improving curricula according to the National Higher Education Qualifications Framework. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Pattamalangkul, N. (2018). Complexity of genre and debate. About eternity. Journal of Thai Studies, 14(1), 61-78.

Phongsriwat, J. (1999). University libraries. Chiang Rai : Chiang Rai Rajabhat University.

Rakmanee, S. (2008). Literary language. (3rd ed). Bangkok : Kindness.

Tochayangkun, P. (2018). References to literature in Thanthai in modern Nirat: continuation and creativity. Interdisciplinary Studies Journal, 18(2), 88-111.

Vongkrabakthaworn, S. (2017). Nirat Literature: Studies to enhance intellectual tourism. Maha Sarakham : Apichat Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23

How to Cite

วงศ์กระบากถาวร ส. . (2024). รายงานวิจัยในชั้นเรียน “การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์วรรณกรรมนิราศของนักศึกษา วิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 229–248. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/268893