การศึกษาความเชื่อทางคณิตศาสตร์กับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
ความเชื่อทางคณิตศาสตร์, การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเชื่อทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาระดับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางคณิตศาสตร์กับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 298 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) โดยมีประเภทห้องเรียนเป็นชั้นของการแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเชื่อ ทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับระดับความเชื่อทางคณิตศาสตร์กับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้วิธีการศึกษาเฉพาะรายกรณี (Case Study Method) โดยนําเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความเชื่อทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 48.32 2) ระดับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 การให้เหตุผลที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ โดยจะมีกลวิธีการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล คิดเป็นร้อยละ 43.96 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางคณิตศาสตร์กับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมากมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .733 และจากการสัมภาษณ์ พบว่า นักเรียนที่มีความเชื่อทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับสูงและค่อนข้างสูง จะมีความมั่นใจในการตอบคำถาม สามารถแก้ปัญหาและให้เหตุผลได้ สามารถใช้ทักษะการคิดและการคำนวณได้อย่างถูกต้อง สามารถนำความรู้ไปใช้ในการหาคำตอบได้ นักเรียนที่มีความเชื่อทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง มีความมั่นใจในการตอบคำถาม สามารถอธิบายแนวคิดและการแก้ปัญหาได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ นักเรียนที่มีความเชื่อทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ไม่มีความมั่นใจในการตอบคำถาม มีการให้เหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้อง บางคนไม่สามารถอธิบายแนวคิด และหาคำตอบได้ บางคนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาแต่ไม่สามารถใช้ทักษะในการหาคำตอบได้ และนักเรียนที่มีความเชื่อ ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำไม่มีความมั่นใจในการตอบคำถาม ไม่สามารถอธิบายแนวคิด และหาคำตอบได้
References
Brown et al (1988). Secondary school results for the Fourth NAEP Mathematics Assessment: Algebra, geometry Methods, and Attitudes. The Mathematics Teacher, 81(5), 337-347.
D’Andrade R. A. (1981). The cultural part of cognition. Cognitive Science. Australia: Mathematical Association of Victoria.
Ellis D. (2007). Technology Education for the Future. Australia : Southern Cross University.
Fishbein, M. & Ajzen (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Jones, Thornton, Langrall and Tar (1999). A Framework for Characterizing Children's Statistical Thinking. Mathematical Thinking and Learning, 2(4), 269-307.
Jumchan, W. (2008). A Study of the Effect of Mathayomsuksa , Nampong Suksa School Student Mathematical Beliefs on Mathematical Problem-solving Abilities. Master of Education Thesis in Mathematics Education, Graduate School, Khoh Kaen University.
Markanong, A. (2010). development of mathematical process skills. Banhkok: Chulalongkorn. University.
Markanong, A. (2013). development of mathematical process skills. Banhkok: Chulalongkorn. University.
Norwood, K.S, (1997). The effects of instructional approach on mathematics anxiety and achievement. School Science and Mathematics, 2(2), 62-67.
Schoenfeld, A. H. (1985). Mathematical problem solving. New York: Academic Press.
Thessrimuang, W. (2021). A Study of Methods for Improving Mathematical Reasoning on Single Variable Linear Equations. of students in grade 1. Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University.
Yeam-ot, O. (2006). Student's Belief Systems about Mathematics in Mathematical Problem-Solving Situation. Master of Education Thesis in Mathematics Education, Graduate School, Khoh Kaen University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ