การพัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

ผู้แต่ง

  • กฤตนัย ล้ำจุมจัง มหาวิทยาลัยราชภักมหาสารคาม
  • อภิชาติ เหล็กดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ธรัช อารีราษฎร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์, สะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 3) ทดลองใช้คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินคู่มือมือ จำนวน 9 คน และกลุ่มที่ 2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกชุมนุมวิทยาศาสตร์ที่เลือกเรียนสาขานักประดิษฐ์น้อย จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การทำงานร่วมกันเป็นทีม แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมและคู่มือ แบบสอบถามความพึงพอใจของวิทยากรและพี่เลี้ยงแบบประเมินความเหมาะสมของขั้นตอนการจัดกิจกรรม และแบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า 1) คู่มือกิจกรรมสำหรับวิทยากรและพี่เลี้ยง และผู้เรียน ประกอบด้วยเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 หน่วย  ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 3 วัน วันละ 6 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมด  18 ชั่วโมง และขั้นตอนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบความรู้ก่อนเรียน ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนา โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มี 6 ขั้น และขั้นตอนที่ 3 การทดสอบความรู้หลังเรียน 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของคู่มือกิจกรรมสำหรับวิทยากรและพี่เลี้ยง และสำหรับนักเรียน ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของขั้นตอนการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้คู่มือกิจกรรม พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนหลังจัดกิจกรรม สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาจากใบกิจกรรมเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลประเมินการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด  ผลการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน อยู่ระหว่าง 90.00 – 100.00 ผลการประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้เรียน วิทยากรและพี่เลี้ยงที่มีต่อคู่มือกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Ananya Intharapak. (2015). Effects of using problem-solving multimedia lessons on the ability to solve math problems. of 5th grade elementary school students. Veridian E -Journal, 8(3), 478-493

Best, John. W. (1997). Research in Education. (3nd ed). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hell.

Fioriello, P. (2016). Understanding the Basics of STEM Education. Available: http://drpfconsults.com/understanding-the-basics-of-stem-education

Kotano, W. (2012). Organizing learning activities. To develop the ability to think critically and academic achievement of students by using the KWL Plus Learning Model in Social Studies. For students in grade 1 Rong Kham School. Khon Kaen : Khon Kaen University.

Ministry of Education. (2010). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok : Agricultural Cooperatives Association of Thailand.

Office of the Secretariat of the Education Council. (2010). Proposals for educational reform in the second decade (2009 - 2018). Bangkok : Phrikwan Graphics Co., Ltd.

Watchara Laoriandee. (2017). Proactive learning strategies to develop thinking and raise the quality of education for the 21st century. Nakhon Pathom : Petchkasem Printing Group.

Wattana Mangkhasaman. (2011). Project-based teaching. (3rd printing). Bangkok : Chulalongkorn University Press.

Wicharn Panich. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. Bangkok : Sodsri-Saritwong Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

ล้ำจุมจัง ก., เหล็กดี อ., & อารีราษฎร์ ธ. . (2024). การพัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 461–482. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/267984