การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ:
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21, การประเมินผลการเรียนรู้, สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ 2) ตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ใสำหรับครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 12 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 760 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 38 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.71 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ
ผลการวิจัย พบว่า
- ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ พบว่า สมรรถนะการประเมินผลการรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ มี 5 องค์ประกอบ 38 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1.1) การวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ มี 5 ตัวบ่งชี้ 1.2) การสร้างและใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลมี 6 ตัวบ่งชี้ 1.3) กลยุทธ์การวัดและประเมินผล มี 17 ตัวบ่งชี้ 1.4) การแปลความหมายคะแนนและการตัดสินผลการเรียน มี 5 ตัวบ่งชี้ และ 1.5) การรายงานและนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้มี 5 ตัวบ่งชี้
- ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ พบว่า โมเดลการวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างมีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
Buros. (2019). Center for Testing. Standards for Teacher Competence in EducationalAssessment of Students. Retrieved fromhttps://buros.org/standards-teacher-competence-educational-assessment-students.
Faith, H. W. (2004). Action Research in the Secondary Science Classroom: Student Response to Differentiated. Alternative Assessment source. American Secondary Education, 32(3): 89-104.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2010). Science and Technology Teacher Standards. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.
Kanchanawasi, S. (2011). Assessment theory. (8th ed). Bangkok: Chulalongkorn University.
Klainin, S. (2012). Thai Science Education: Development and Recession. Bangkok : Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.
Limphonsemanon, S. (2016). Guidelines for evaluating science achievement of Mathayomsuksa 2 students by integrating with teaching and learning. Journal of Education research Faculty of Education, Srinakharinwirot University, Vol. 10(1).
National Institute of Educational Testing Service (2015). Summary of basic national educational testing results. Secondary School Level 3, Academic Year 2019. [Online]. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2562.pdf [1 September 2021]
Office of the Basic Education Commission. (2014). Guidelines for measuring and evaluating learning outcomes according to the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2551 (4th ed). Bangkok: Assembly Printing House. Agricultural Cooperatives of Thailand.
Panich, V. (2012). Ways of creating learning for students in the 21st century. Bangkok: Tathata Publication Co., Ltd.
Poonphuttha, A. (2017). The Development of Learning Performance Measurement and Evaluation of Teacher Training Experience Students: A Case Study Maha Sarakham Rajabhat University. Mahasarakham: Mahasarakham University.
Pornphisutmat, S. (2014). Evaluation of learning helps promote learners to be effective. How to learn science in the 21st century?. RMUTSB Academic Journal. Vol. 2(1), 81-90
Sawathanaphaiboon, S. (2007). Research Report on Measurement and Evaluation Model of Science Teaching and Learning Based on Actual Conditions. Level 4. Bangkok: Science Education Center, Srinakharinwirot University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ