การศึกษาความสัมพันธ์ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • วิมณสิริ อุฬุมปานนท์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • บุรพร กำบุญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศิริพร สัจจานันท์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชลกนก โฆษิตคณิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพ, ประสิทธิภาพ, การบริการด้านโลจิสติกส์, บริษัทเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การศึกษาผลกระทบของความสัมพันธ์ด้านโลจิสติกส์ที่มีต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพของการบริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 3) เพื่อศึกษาระดับของความสัมพันธ์ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ ของบริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

           การวิจัยครั้งนี้ได้พิจารณาเนื้อหาสำหรับการศึกษานี้มุ่งประเด็นไปยังกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก อันประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ คือความสัมพันธ์ด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและ ตัวแปรตาม ซึ่งพิจารณาออกเป็น 2 ตัวแปรย่อย ได้แก่ตัวแปรประสิทธิภาพการบริการ และตัวแปรคุณภาพการบริการ ซึ่งได้ข้อมูลมาจากการใช้เครื่องมือแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 312 ราย และจากการสัมภาษณ์ 15 ราย ด้วยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เพื่อจัดกลุ่มตัวชี้วัดของมาตรวัดที่ได้จากข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่า KMO และ Bartlett Test of Sphericity ต้องมีนัยสำคัญ และควรมีค่ามากกว่า 0.8 ซึ่งแสดงว่าข้อมูลที่รวบรวมได้ สามารถทำ Factor Analysis ได้ ตามด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อจัดกลุ่มตัวแปรเชิงทฤษฎี ประกอบกับการสร้างวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

          ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประสิทธิภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และความสัมพันธ์ด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีองค์ประกอบตามแนวคิด และทฤษฎีอย่างครบถ้วน โดยระดับองค์ประกอบของความสัมพันธ์ด้านโลจิสติกส์ ต่อคุณภาพ และประสิทธิภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ พบว่ามีองค์ประกอบในระดับมากที่สุด 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Reliability dimension (ค่าเฉลี่ย 4.35) Tangibles (ค่าเฉลี่ย 4.33) และ Select Partners (ค่าเฉลี่ย 4.32) ตามลำดับ ต่อมาคือองค์ประกอบในระดับมาก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ Perform Strategic (ค่าเฉลี่ย 3.84) Response (ค่าเฉลี่ย 3.82) Time dimension (ค่าเฉลี่ย 3.81) Understanding the Customer (ค่าเฉลี่ย 3.81) และ Evaluate Alternative (ค่าเฉลี่ย 3.80) ตามลำดับ สุดท้ายคือองค์กรประกอบในระดับปานกลาง ได้แก่ Structure Operating Model (ค่าเฉลี่ย 3.79) Reliability (ค่าเฉลี่ย 3.79) Security (ค่าเฉลี่ย 3.78) Assessment (ค่าเฉลี่ย 3.77) Decision to Form Relationship (ค่าเฉลี่ย 3.77) Implementation and Continuous Improvement (ค่าเฉลี่ย 3.76) และ Cost Management dimension (ค่าเฉลี่ย 3.75) ตามลำดับ

References

Department of Business Development. (2021). Digital Government Driving Plan of the Department of Business Development, 2020 – 2022 (additional edition) according to the Digital Development Plan for Commercial Economy, Department of Business Development. Bangkok: Department of Business Development, Ministry of Commerce.

Intarawongchot, P. et al. (2013). Service Quality of Thailand and Lao PDR Logistics Service Providers. KMUTT Research and Development Journal. 36 (4), 465-476.

Kusalasaiyanon, C. (2016). The Effect of Logistics Management on Performance of Rice Mill Industry in Nakhon Pathom Province. JOURNAL OF INDUSTRIAL EDUCATION FACULTY OF EDUCATION, SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY. 10 (1), 9-18.

Suksanchananun, W. (2016). The Relations between Logistics Freight Halal Rail, Waterways and Road Transport to The Effectiveness of Halal Products. WMS Journal of Management Walailak University, 5 (3), 57-69.

Sutheerachart, J. (2017). EEC, a new hope for the Thai economy: why start today?. [Online]. https://www.scbeic.com/th/detail/product/3544. [20 January 2018]

Tanachodrungsatis, K. (2557). Efficiency and Effectiveness of Thai Rice Transportation Logistic: A Case Study Transportation Route from Nakornsawan Province to Foreign Countries. SUTHIPARITHAT. 28 (88), 309-342.

Udomrachtavanich, W., (2017). US 1.9 Trillion Policy Help the economy or the market. Bangkok Business. [Online]. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/126883 [1 March 2022]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24

How to Cite

อุฬุมปานนท์ ว. ., กำบุญ บ. ., สัจจานันท์ ศ., & โฆษิตคณิน ช. (2022). การศึกษาความสัมพันธ์ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. Journal for Developing the Social and Community, 9(3), 197–222. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/258897