การประเมินศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านท่าล้ง จังหวัดอุบลราชธานีและชุมชนบ้านท่าวัด จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ภาสกร จวนสาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การประเมินศักยภาพ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมต่อไป ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้มีพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ คือ พื้นที่บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่บ้านท่าวัด ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

          ในการศึกษาในครั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนและการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้ให้บริการโฮมสเตย์ และประชาชนในพื้นที่ศึกษาผลจากการศึกษาพบว่า พื้นที่ชุมชนบ้านท่าล้งและบ้านท่าวัด ทั้งสองพื้นที่นั้นมีค่าเฉลี่ย (    ) เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับมากทั้งสองพื้นที่ และค่าคะแนนร้อยละ เรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอยู่ในระดับมากทั้งสองพื้นที่เช่นกัน 

          จึงสรุปได้ว่าพื้นที่ศึกษาทั้งสองพื้นที่ มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และประเด็นที่ควรปรับปรุงคือ การส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติให้มีการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีความชัดเจนและสอดคล้องกัน แนวทางการพัฒนามี 2 แนวทางคือ การพัฒนาระดับชุมชน ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชน เอกชนและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เปิดเวทีสาธารณะให้ชุมชนกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนในการวางแผนทั้งในด้านแผนที่ ศักยภาพ และการเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นและการทำงานเชิงรุกของภาครัฐและระดับภูมิภาค การพัฒนาระดับภูมิภาค ควรมีศึกษาและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวโดยใช้จุดเชื่อมต่อในมิติของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีเรื่องราว (story ) หรือวิถีชีวิตริมโขงเพื่อให้เกิดจุดท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค

References

Buabangploo, P. (2018). Sustainable Ecotourism Management Approach, Khao Khitchakut National Park, Chanthaburi Province. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, Vol.12(2), P.96-98.

Buaphet, G. (2006). Participation in Community Based Ecotourism Management : A Case Study of Khiriwong Community, Lan Saka District, Nakhon Si Thammarat Province Bangkok: Chulalongkorn University.

Bunyaprawit, T. (2015). Smart Growth Criteria Proposal and Thailand's Urban Planning Strategy. [Online]. http://www.oknation.net/blog/smartgrowththailand/2015/01/09/entry-2.

July 2020]

Chaipiboon, S. (2007). Participatory Cultural Tourism Management: A Case Study of Tourism Potential of Nakhon Chum Community, Mueang District, Kamphaeng Phet Province. Bangkok: Office of the National Research Council of Thailand.

Department of Public Works and Town & Country Planning. (2015). Land use schedule plan according to classification Type and display of transportation and transport projects annexed to the Ministerial Regulations to enforce the Bueng Kan Combined City Plan. Bueng Kan: Office of Public Works and Town & Country Planning.

Krachangcham, S., et al. (2018). Tourism Product Development Guidelines Project Set culturally to create added value. Case Study: Lanna Civilization Tourism Route, Sub-Project at 2Education to enhance cultural tourism routes for learning architectural values in the Lanna civilization path. Bangkok: Office of the National Research Council of Thailand.

Krejcie, R.V.,and Morgan D.W. (1970)." Determining Sample Size for Research Activities. " Psycholological measurement : 607-610.

Kuecharoen, S. (2006). Ecotourism. Bangkok: Apichart Printing.

Ministry of Tourism and Sports. (2008). Guidelines and strategies for developing ecotourism Ubon Ratchathani Province. Ubon Ratchathani: Ministry of Tourism and Sports.

Office of the Permanent Secretary. (2018). Thailand Tourism Statistics Report 2017. [Online]. :https://www.mots.go.th/old/ewt_dl_link.php?nid=11588. [15 February 2020]

Ongsakul, C. & Nuansanong, K. (2016). Cultural Tourism in Songkhla Lake Basin for Sustainable Development. Songkhla: Thaksin University.

Pianphon, P. (2016). Ecotourism management model with participation of the home community in the area of the Mon Ngoga Royal Project Development Center Chiang Mai. [Online]. http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2018/phornchai_phianphol/fulltext.pdf

June 2021]

Santasombat, Y. (1999). Ecotourism. [Online] http://www.bangkokbiznews.com.[29 July 2020].

Thong On, W. (2007). A set of teaching materials and human resources courses. Phrae University Bangkok: Kasetsart University.

Wichiannoi, N., et al. (2021). The Government’s Perspectives to the Tourism Development in Pathumthani Province: The Case Study Rangsit City Municipality, Thaklong Municipality, and Bueng Yitho Municipalit. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, Vol. 8(12), P.1- 17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25