การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สมศรี นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวัฒน์ จุลสุวรรณ อาจารย์ประจำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความจำเป็นของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ และเพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 145 คน จากโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี โดยแบ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการ จำนวน 5 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย จำนวน 36 คน และหัวหน้าสายชั้น จำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (checklist) ตอนที่ 2 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษาคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (checklist) และตอนที่ 3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจำแนกข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วน กำหนดค่าคะแนนเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ใช้การวิเคราะห์ความถี่และร้อยละ ส่วนแบบสอบถามตอนที่ 3 ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า สภาพปัจจุบัน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความรักอย่างสูงสุด ด้านการเห็นประโยชน์ของผู้อื่น ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการเสริมพลังอำนาจ ด้านการไว้วางใจ ด้านการนอบน้อม และด้านการบริการ, สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น ด้านความรักอย่างสูงสุด ด้านการไว้วางใจ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการเสริมพลังอำนาจ ด้านการบริการ และด้านการนอบน้อม ส่วนผลการศึกษาความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการบริการ รองลงมา ได้แก่ ด้านการนอบน้อม ด้านการไว้วางใจ ด้านการเสริมพลังอำนาจ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และ ด้านความรักอย่างสูงสุด ตามลำดับ (2) ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี พบว่า องค์ประกอบของโปรแกรม ประกอบด้วย 1) หลักการและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เนื้อหา 4) กิจกรรม และ 5) การวัดและประเมินผล ส่วนผลการประเมินโปรแกรม พบว่า โปรแกรมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

References

Eisner, E. (1976). Educational Connoisseurship and Criticism: Their form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Evaluation or Education. 10:135-150.

Jirawan Lengpanich. (2011). A Structural Equation Model of Servant Leadership for Basic School Administrators. Ph.D. thesis Educational administration. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Kla Thongkhao. (2008). Crisis of educational leadership. Bangkok: Dhurakij Pundit University.

Office of the Education Council. (2008). IMD World Competitiveness Year Book 2007. Bangkok: 21century.

Office of the Education Council. (2010). IMD World Competitiveness Year Book 2009. Bangkok: 21century.

Phudit Patpin. (2012). Development of school administration model through the sufficient economy philosophy under Office of the Basic Education Commission. Ph.D. thesis. Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

Pongphop PhoojomJit. (2012). The Development of Indicators of Servant Leadership for Basic School Administrators. Ph.D. thesis Educational administration. Mahasarakham: Rajabhat Mahasarakham University.

Sarayuth Kunlong. (2010). Developmental Strategy of servant leadership of executives of Rajabhat Universities in the Northeast. Ph.D. thesis Bachelor of Public Administration. Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

Suthep PongSriwat. (2007). Leadership. Bangkok: S. Asia Press.

Sutum Thummatasananon. (2018). Developing Program to strengthen Learning Leadership of Basic School Administrators. Faculty of Education, Mahasarakham University. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Suwat Julsuwan. (2011). The Development of Transformational Leadership of Supporting- Line Administrators at Public Higher Education Institutions. Ph.D. thesis. Educational Administration and Development. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Teera Runcharoen. (2010). Administration for Learning Reform. Bangkok: Khaofang: Publishing.

Venerable Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2010). Leader. Bangkok: Matichon Publishing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30