รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิผลของนครไกสอนพมวิหานแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการขยะมูลฝอย, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 2) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 3) ให้ข้อเสนอแนวการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และภาคประชาชน จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิผลของนครไกสอนพมวิหาน พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านและความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องกว่าร้อยละ 80 (2) รูปแบบปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยพฤติกรรมมีอิทธิพลสูงสุด (β =.230) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย (β =.104) และต่ำสุดคือ ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย (β =.046) ตามลำดับ (3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะโดยให้ความสำคัญกับด้านพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย 1) การสร้างความไว้วางใจ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การจัดกิจกรรมแบบสาธิต ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย 1) กำหนดผู้รับผิดชอบหลัก 2) การเปิดให้มีการประชุมภาคประชาคมและท้องถิ่น และ 3) การประชาสัมพันธ์ ด้านประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มีดังนี้ 1) การคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ 2) การวัดและประเมินผล และ 3) การให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย และด้านความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย 1) การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน 2) การส่งเสริมความรู้ขยะมูลฝอย และ 3) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
References
References
Anusara Sawangchai. (2013). The Strategies of Solid Waste Management on Phuket Island. Journal of the Association of Researcher, 18 (2), 114-127.
Aree Ponpoomuang. (2016). Participatory Development of a Solid Waste Segregation Program in the Community of Muang Suoung, Roi Et Province. Master of Public Health Thesis: Mahasarakham University.
Arun Chirawatkul. (2014). Statistics in research: how to use them properly. Bangkok: Wittayapat.
Bunchom Sīsaʻāt. (2012). Preliminary research. 5th edition, Bangkok: Suveeriyasan.
Chalermchat Saepaisarn. (2013). Behavior of solid waste management in communities municipal Chae, Khonburi, Nakhon Ratchasima province. Master of Engineering Thesis: Suranaree University of Technology.
Nuntapas Wongpanit-aksorn. (2015). Factors Affecting the Participation in Environment Management in Community, Petchpathum Community, Pathumthani Province. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 9 (2):129-135.
Phanthipa Thaweesin. (2012). Effectiveness of solid waste management of Hua Hin Municipality according to the principles of good governance. Stanford Journal. 4 (2), pp. 71-76.
Pollution Control Department. (2016). Master Plan for Solid Waste Management of the Country (2016 - 2021). Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.
Saraphi Suksai. (2011). Solid Waste Management Behavior of Community Leaders in Kaluwo Nuea Subdistrict Administrative Organization, Muang District, Narathiwat Province. Master of Public Administration Thesis: Khon Kaen University.
Supawadee Ampai. (2016). The Influence of Knowledge on Effectiveness of Waste Management of Local Government Organizations in the Phanna Nikhom District Area, Sakon Nakhon Province. Master of Public Administration Thesis: : Sakon Nakhon Rajabhat University.
Urban Development Protection Organization, Savannakhet District (2019). Annual Report of Savannakhet District: Savannakhet District : Lao People's Democratic Republic
Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Edition, New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ