กลยุทธ์การแข่งขันและกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อังคณาภรณ์ ไชยโสดา สาขาบริหารธุรกิจ,คณะวิทยาการการจัดการ,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • นิศารัตน์ โชติเชย คณะวิทยาการการจัดการ,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ภณิตา สุนทรไชย คณะวิทยาการการจัดการ,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การแข่งขัน, ส่วนประสมทางการตลาด, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจหอพัก 2) กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการของธุรกิจหอพัก 3) ผลการดำเนินงานธุรกิจหอพัก และ 4) กลยุทธ์การแข่งขันและกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จำนวน 239 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ผลการวิจัย พบว่า

  1. ระดับกลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.39 ; S.D. = 0.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการลดต้นทุน (  = 4.45 ; S.D. = 0.41) รองลงมาได้แก่ ด้านการสร้างความแตกต่าง (  = 4.44 ; S.D. = 0.44) ด้านการจำกัดขอบเขต (  = 4.41 ; S.D. = 0.46) และด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว (  = 4.28 ; S.D. = 0.63) ตามลำดับ
  2. 2. ระดับกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.45 ; S.D. = 0.32) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านบุคคล (  = 4.62 ; S.D. = 0.42) รองลงมาได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ (  = 4.55 ; S.D. = 0.41) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (  = 4.54 ; S.D. = 0.54) ด้านผลิตภัณฑ์ (  = 4.52 ; S.D. = 0.50) ด้านราคา (  = 4.48 ; S.D. = 0.49) ด้านกระบวนการ (  = 4.32 ; S.D. = 0.45) และด้านการส่งเสริมการตลาด (  = 4.14 ; S.D. = 0.42) ตามลำดับ
  3. ระดับผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.41 ; S.D. = 0.37) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลูกค้า (  = 4.50 ; S.D. = 0.44) รองลงมาได้แก่ ด้านการเงิน (  = 4.45 ; S.D. = 0.41) ด้านเรียนรู้และการพัฒนา (  = 4.36 ; S.D. = 0.56) และด้านกระบวนการภายใน (  = 4.32 ; S.D. = 0.47) ตามลำดับ
  4. กลยุทธ์การแข่งขันและกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพักในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ปัจจัยตัวแปรอิสระ 5 ตัวที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจหอพัก คือ ด้านการสร้างความแตกต่าง ด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว ด้านการจำกัดขอบเขต ด้านการลดต้นทุน และด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนตัวแปรอิสระ 6 ตัว ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 คือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ.997 (R =.997) ตัวแปรอิสระทั้งหมดอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 99.30 (R2 =.993) เขียนเป็นสมการถดถอยได้ดังนี้

          สมการมาตรฐาน คือ Z =.283 z1+.401 z2+316 z3+.265 z4-.019 z5+.019 z6-.022 z7+.006 z8-.001 z9-.001 z10+.006 z11

            สมการปรับปรุง ด้วยวิธี Stepwise คือ Z =.398 Z2+.269 Z4+.324 Z3+.283 Z1-.024 Z5

References

References

Arisa Chuewongskun. (2017). Deciding Behavior in Student Dormitory Rental, Rajamangala University of Technology Rattanakosin Wang Klai Kangwon Campus 4, in Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province. Master of Business Administration Thesis: Stamford International.

Chamnan Rodpai. (2011). CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY'S PERCEPTIONS AND SERVICE MARKETING MIX INFLUENCING THE LOYALTY OF DORMITORY OF UBON RATCHATHANI UNIVERSITY'S STUDENT. Master of Business Administration Thesis : Ubon Ratchathani University.

Juthamas Jaisamuth. (2014). Relationship between Demand, Marketing Mix Factor and Dormitory Rental Decision Behavior of Undergraduate Female Students, University of the Thai Chamber of Commerce: Case Study of Baan Duangroj Female Dormitory. Master of Business Administration Thesis: University of the Thai Chamber of Commerce.

Maha Sarakham Provincial Social Development and Human Security Office. (2017). List of dormitories in Maha Sarakham Province. Mahasarakham: Social Development and Human Security, Maha Sarakham Province.

Mallika Khunoi. (2013). Marketing Strategy Planning of Ban Kuljiraporn Dormitory to increase the number of guests in Muang District, Khon Kaen Province. Independent Study, Master of Business Administration: Khon Kaen University.

Pavena Leelachai, Palan JantaraJaturapath and Areerat Pansuppawat. (2014). “Relationships between Good Management System and Performance of Apartment and Dormitory Businesses in Mahasarakham Province” Journal of Accountancy and Management, Mahasarakham University, 6(4): 108-118.

Pensiri Thammasorn. (2015). Satisfaction towards services marketing mix of residents at Lanna Phayao Apartment, Amphoe Mueang Chiang Mai. Independent Research Master of Business Administration: Chiang Mai University.

Pipat Yodprudtikan. (2010). Business operations according to sustainable development guidelines. Bangkok: InterContinental.

Porter, Michel E. (1985). Competitive Advantage. New York : Macmillan, Inc.

Sompatorn Panmisri. (2013). Strategic Planning, Kerdchaiya Dormitory, Around Khon Kaen University, Nong Khai Campus. Master of Business Administration Independent Study : Khon Kaen University.

Suchonnee Metiyothin. (2018). Competitive Strategy. Chonburi: Burapha University.

Sudaporn Kuntonbutr. (2014). Modern Marketing Principles. Bangkok: Chulalongkorn University.

Therachot Ritthidet. (2013). Services marketing mix afecting burmese labors towards selecting rental residences in Samut Sakhon Province. Master of Business Administration Thesis: Chiang Mai University.

Tippa Loonpe. (2016). Factors Marketing Mix Affect in Choosing Private Domitory of Khonkean University Students, Nongkhai Campus, Nongkhai Province. Master of Public Administration Thesis: Rajabhat Mahasarakham University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30