รูปแบบความสำเร็จของการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน ศึกษากรณีข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร โรงเรียนนายสิบทหารบก กองทัพบกไทย
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร, โรงเรียนนายสิบทหารบกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความสำเร็จในการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อความสำเร็จในการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน ของข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน กับความสำเร็จในการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก และพยากรณ์ความสำเร็จของการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก และ (4) สร้างรูปแบบการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร สังกัดโรงเรียนนายสิบทหารบก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร จำนวน 9 นาย ที่มีแหล่งกำเนิดต่างกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ ในการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร จำนวน 300 นาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบน สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อคุณภาพชีวิตการทำงานมีความแตกต่างกันในด้านระยะเวลารับราชการ ตำแหน่งในราชการ ระดับการศึกษาและชั้นยศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพยากรณ์ความสำเร็จได้ร้อยละ 61.2 และ (4) รูปแบบความสำเร็จของการจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงาน ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและองค์การ
References
References
Ake Tangsupvattana. (2010). Official Organization: The Case of the Governor, CEO. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Cohen and Uphoff. (1980). Participatory place in rural development : Seeking clarity through specificity. New York: World Development.
Gorkem Senay Yavuz. (2014). “Corporate communication in large-scale organizations in Turkey: Structure and responsibilities”, Public Relation Review volume, 40 (5) : December.
Herzberg, Frederick. (1959). The Motivation to work. Cleveland : World Pub.Co,1966 USA
Maslow, Abraham H. (1994). Motivation and Personality. New York: Harper & Row. Mazmanian,
McClelland, D. C. (1961). The Achieving Society. New York: D. Van Nostrand.
Ray Whelan and Sharon Feeney. (2019). An Investigation in to career path of Non-Commissioned Officers in the Defense Forces of Ireland (Army only) on retirement. [Online]. https://esource.dbs.ie/bitstream/handle/10788/3759/whelan_r_dbs-rday_2019.pdf?sequence=1&isAllowed=y [21st Sep 2019]
Satit Pan-on, Papawadee Montriwat, and Jira Prateep. (2013). “Quality of work life of officials in prisons zone 7”. Modern Management Journal, 11 (1): 95-106
Sorachai Bhisalbutra. (2001). Action research methodology. Bangkok: Wittayapat Company.
Stephen K Bailey. (1967). Research Frontier in Politics and Government. Amazon.com Books.
Subramanian (2016). “Workplace Flexibility, Empowerment and Quality of Life) Study”. Asian Social Science, 3 (1) : 2016
Sunet Namkotsri (2010). Quality of working life of personnel of subdistrict administration organizations in Dan Khun Thot, Nakhon Ratchasima. Master's Degree Independent Study : Suranaree University of Technology
Surachai Kawpikula. (2009). The Quality of Work’s Life of Personnel in Police Nursing College. Master of Social Work Thesis: Thammasat University.
Umaporn Moolmanee (2012). THE OPINIONS TOWARD DEVELOPMENT OF THE QUALITY OF WORKING LIFE OF OPERATORS OF WESTERN DIGITAL (THAILAND) CO., LTD. Master of Business Administration Thesis: Valaya Alongkorn University.
Wanchai Meechat, (2007). Organization administration Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ