การศึกษาและเปรียบเทียบการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับต้นทุนเงินลงทุนส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กุณฑีรา อาษาศรี วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการที่ดี, ต้นทุนเงินลงทุนส่วนของผู้ถือหุ้น, บริษัทจดทะเบยีนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) ศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับต้นทุนเงินลงทุนส่วนของ ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) เพื่อเปรียบเทียบการกำกับดูแล กิจการที่ดีและต้นทุนเงินลงทุนส่วนของผู้ถือหุ้น ที่มีกลุ่มอุตสาหกรรม สินทรัพย์รวม ทุนจดทะเบียน แตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 300 บริษัท รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยศึกษาค้นคว้าจากงบการเงินประจำปี 2556 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีผลการดำเนินงานต่อเนื่องและมรีอบ ระยะเวลาบัญชีสำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม โดยทำการเก็บข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ แบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี (56-1) แล้วนำมาวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) การกำกับดูแลกิจการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน ด้านสัดส่วนกรรมการอิสระ อยู่ในระดับมาก ด้านจำนวนครั้งการประชุม ด้านค่าตอบแทน กรรมการบริหาร ด้านสัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการบริหาร อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการควบ รวมตำแหน่งของประธานกรรมการอยู่ในระดับน้อยที่สุด และต้นทุนเงินลงทุนส่วนของผู้ถือหุ้น ด้าน อัตราส่วนต้นทุนการกู้ยืม ร้อยละ 8.23 ของหนี้สินทางการเงินสุทธิ ด้านอัตราการจ่ายเงินปันผล คิดเป็น ร้อยละ 29.05 ของกำไรสุทธิ ด้านอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่อสู้นทรัพยุหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ 8.47 ด้านอัตราส่วนกระแสเงินสดต่อหนี้สินรวม คิดเป็นร้อยละ 161.56 2) บริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ที่มีกลุ่มอุตสาหกรรม สินทรัพย์รวม แตกต่างกัน มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี แตกต่างกัน และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีกลุ่มอุตสาหกรรม สินทรัพย์รวม ทุนจดทะเบียน แตกต่างกัน มีต้นทุนเงินลงทุนส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.5

References

กานต์แก้ว กุลวาน. (2550). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนเงินทุนสว่นของผู้ถือหุ้น. วิทยานิพนธ์บัญชี มหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณม์หาวิทยาลัย, 2550.

จันทนา สาขากร และคณะ. (2550). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็น เพรส.

ตลาดหลักทรัพยแ์ห่งประเทศไทย. (2555). หลักการก ากับดูแลกิจการทีดี. https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/cg/files/ 2013/CGPrinciple2012ThaiEng.pdf. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ ์2559

ตลาดหลักทรัพยแ์ห่งประเทศไทย. (2558) ประวัติและบทบาท. [Online] www.set.or.th/th/about/overview/history _p1.html#role. [1 กุมภาพันธ์ 2558]

ตลาดหลักทรัพยแ์ห่งประเทศไทย. (2558). การจดัตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [Online] http://www. set.or.th/th/about/ overview/history_p1.html#history[1 กุมภาพันธ์ 2558].

ภัทราพร พาณิชสุสวสัดิ์ และศลิปพร ศรีจั่นเพชร (2551). “ความสมัพันธ์ระหว่างการก ากับดูแลกจิการ ที่ดีมุมมองด้านบทบาทความรับผดิชอบของคณะกรรมการบริษัทและมูลคา่เพิ่มของกิจการ (EVA) กรณศีึกษา : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 50) ” วารรสารวิชาชีพบัญชี, 4 (9) : เมษายน 2551

วราลี ทองพมพฤกษา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าเพมิ่เชิงเศรษฐศาสตรซ์ึ่ง ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์และการจ่ายเงินปันผลของบริษัททจี่ดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ กลมุ่อุตสาหกรรมธุรกจิการเงิน หมวดธนาคาร. การศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษาตามหลักสตูร บริหารธุรกิจมหาบัณฑติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2555). การวางแผนและควบคมุทางการบญัชี. กรุงเทพ ฯ : ทีพีเอ็น เพรส

ส านักงานคณะกรรมการก ากับหลกัทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2558). ผลการสา รวจการก ากับดูแล กิจการจากบริษัทจดทะเบยีน. [Online] http://www.thaiiod.com/imgUpload/file/CGR2014 /Presentation%20CGR2014 (1) [2 กุมภาพันธ์ 2558]

ส านักงานคณะกรรมการก ากับหลกัทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). การพัฒนาอย่างยั่งยืน. [Online] http://www.cgthailand.org/TH/principles/CG/Pages/cg-concept.aspx. [10 มกราคม 2560]

Bauer, Gunster. (2004). Empirical Evidence on Corporate Governance in Europe. The Effect on Stock Returns, Firm Value and Performance. EFMA 2004 Basel Meetings Paper.

Black, B. & Khanna, V. Can (2007). Corporate Governance Reform Increase Firms’ Market Value? Evidence from India. Social Science Research [Online] http://ssrn.com /abstract=91440 [December 1, 2007]

Chi, J. (2005). Conditional test of corporate governance theories. Dissertation. Texas A&M University.

Gruszczynski, M. (2006). “Corporate governance and financial performance of companies in Poland.” International Advances in Economic Research, 126, 2: 251-259.

Majid Makki. (2010). Impact of corporate governance on intellectual capital efficiency and financial performance. Doctor of Philosophy in Business administration.

Steele, A., & O'Hanlon, J. F. (2000). “Estimating the equity risk premium using accounting fundamentals”. Journal of Business Finance and Accounting, 27 (9,10), 1051-1083.

Vefeas, N. (1999). “Board meeting frequency and firm performance”. Journal of Financial Economics, 53: 113-142.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31

How to Cite

อาษาศรี ก. (2016). การศึกษาและเปรียบเทียบการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับต้นทุนเงินลงทุนส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Journal for Developing the Social and Community, 3(3), 73–85. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211941