สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์ อาจารย์ ประจำสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏัมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สมุนไพร, วิถีชีวิต, ชุมชุนบ้านเชียงเหียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม ในด้านการเก็บยาสมุนไพร การปรุงยาสมุนไพร และการจำหน่ายสมุนไพร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ และการสังเกตกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลหลักมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มหมอพื้นบ้าน จำนวน 5 คน และกลุ่มผูู้้รู้ จำนวน 5 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ แล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สมุนไพรที่ปลูกในชุมชนบ้านเชียงเหียนมี 11 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น ต้นฟ้าทะลายโจร เจตมูลเพลิงแดง เจตมูลเพลิงขาว ว่านชักมดลูก ต้นว่านไพลเหลือง ต้นว่านไพลขาว ต้นว่านไพลดำเปล้าน้อย ต้นจันทร์หอมหรือต้นจันทร์แดง และดีปลี เป็นต้น และสมุนไพรที่เกิดตามธรรมชาติในชุมชนบ้านเชียงเหียน มี 3 ชนิด ได้แก่ ม้ากระทืบโรง ต้นสามแก้วหรือต้นรังตังช้างร้อง และเสลดพึงพอน 2. ชุมชนบ้านเชียงเหียน มีการเก็บยาสมุนไพรของชุมชนบ้านเชียงเหียน มีวิธีการเก็บดังนี้ การโค่น การขุด การตัดีหรือกี่ี่ารเด็ด การถอน และการถาก สำหรับการปรุงยาสมุนไพรของชุมชนบ้านเชียงเหียน โดย การนำเอายามาหั่น มาฝาน ตากแดดให้แห้งแล้วตวง ชั่ง หาปริมาณของยา โดยมีตัวยา 4 ขนาน คือยาหม้อหรือยาต้ม ยาลูกกลอน ยาฝน หรือ (ยาฮากไม้) และยาผง ส่วนการจำหน่ายยาสมุนไพรของชุมชนบ้านเชียงเหียน จะจำหน่ายภายในชุมชนบริเวณภาคอีสานและภายนอกชุมชนในบริเวณภาคอื่น ๆ ของประเทศ

References

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ. (2550). ทะเบียนภูมิปัญญาการแพทยแผนไทย. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานคุ้มครองภูมิ ปัญญา การแพทยแผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทยแผนไทย กรมพัฒนาการแพทย แผน ไทยและการแพทยทางเลือก.

ทักษิณา ไกรราช. (2549). มิติทางวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน. วิทยานิพันธ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ถวิล ชนะบุญและวีระ ทองเนตร. (2552). ปลูกไม้ท้องถิ่น พื้นป่า สร้างคลังยาให้ชุมชน. กรุงเทพฯ :อุษาการพิมพ์ .

บุญจิต พลเสน. (15 มีนาคม 2559). สัมภาษณ์ . หมอพื้นบ้าน. ชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.

พรพรรณ ไม้สุพร. (2551). กฎหมายว่าด้วยการสาธุารณสุขกับธุรกิจสปา. บทความกฎหมายสาธุารณสุข. ศูนย์บริการกฎหมายสาธุารณสุขกรมอนามัย.

พรสวรรค์ ดิษยบุตร และคณะ. (2543). สมุนไพร : การใช้อย่างถูกวิธี. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สงวน พลชำนิ. (16 พฤษภาคม 2559). สัมภาษณ์ . หมอพื้นบ้าน. ชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. โส

รัตนพลแสน. (16 พฤษภาคม 2559). สัมภาษณ์ . หมอพื้นบ้าน. ชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. อ่อน

จำปาศรี. (16 พฤษภาคม 2559). สัมภาษณ์ . หมอพื้นบ้าน. ชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-07-31

How to Cite

ปัดสินธุ์ ท. (2016). สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. Journal for Developing the Social and Community, 3(2), 140–152. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211608