ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญช, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, นักวิชาการเงินและบัญชีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหวางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพ บัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักวิชาการเงินและบัญชี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 105 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้านความรู้ด้านกฎหมาย มีความสัมพันธ์ และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้าน การบริหารจัดการด้านการเงิน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยรวม การพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้านการควบคุมคุณภาพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิง บวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม และการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชี ด้านความรู้ทางการบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม ดังนั้นนักวิชาชีพบัญชี ควรมีการเข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีและพัฒนาตนเองให้มีทักษะ ความรู้ คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพบัญชี และควรนำเอาข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กรเล็งเห็น ถึงความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของนักวิชาชีพบัญชี ซึ่งจะทำให้องค์กรมีความเชื่อมั่นในตัวนัก วิชาชีพบัญชี และส่งผลให้นักวิชาชีพบัญชีมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีต่อไป
References
Black, K. (2006). Business Statistics For Contemporary Ecision Making. USA : John Wiley and Sons.
J.H. Wesseling, J.C.M. Farla, M.P. Hekkert. (2015). “Exploring car manufacturers’ responses to technology-forcing regulation : the case of California’s ZEV mandate” [Online] http : //joeriwesseling.com/wpcontent/uploads/2015/08/Wesseling-et-al.-WP-in-press-at-EIST-2015.pdf
Natthacha Wattanawilai and Juthamon Sitthiphonwanitchakul . (2012). “The potential development of Thai accounting profession on economic liberalization”. Executive Journal, 32 (3) (Julys-September 2012), page. 16 - 25 [In Thai]
Nunnally, J. (1978). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill. Rajamangala University of Technology Isan. (2016). University Information. [Online] http : //www.rmuti.ac.th/2015/th/about-rmuti/information [3 May 2016]. [In Thai]
Sayfon Urai, Kanyanat Rattanaphaphtham, Salakjit Ninlaphay. (2015). Effects of audit competency on practice efficiency of certified public accountants in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 34 (4) : July-August 2015, 169-179. [In Thai].
Sujittra Prakrongsee, Khajit Konthong and Pailin Nilniyom. (2014). “Relationships between Modern Accounting Competency and Professional Success of Bookkeepers in the Upper Northeast”. Journal of Accountancy and Management, 6 (2) : April-June. [In Thai]
Supaporn Bisalbutra. (2007). Job analysis. 7th edition. Bangkok : Wirat Edutainment. [In Thai]
Thammasat University. (2016). Manual of Functional Competency : Finance and Accounting Division, Position in Finance and Accounting Scholars, [Online] http : //hrfs.person.tu.ac.th/hrtuweb/. [10 April 2016]. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ