แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เชนทร์ณฤทธิ์ สุวรรณรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ไพศาล พากเพียร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ประสิทธิ์ กุลบุญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แนวทาง, คุณภาพชีวิต, การปรับตัวของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ศึกษาการปรับตัวผู้สูงอายุโดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 278 คน โดยการสุ่ม
อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนา วิเคราะห์ค่า t แบบอิสระและการวิเคราะห์การแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ผู้สูงอายุ
ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน มีเพียง 1 ด้าน ที่มีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง คือ ด้านร่างกาย และด้านการปรับตัว พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปรับตัว โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การปรับตัวอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพึ่งพาอาศัยรองลงมา คือ ด้านบทบาทหน้าที่และด้านอัตมโนทัศน์ ตามลำดับ ส่วนแนวทางส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุ
ในตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและ
ความต้องการของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ด้านสุขภาพ ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ เช่น กิจกรรมอบรมเรื่องสุขภาพออกกำลังกายตลาดนัดสุขภาพ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต 2) ด้านสังคม ส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพ และเพื่อเสริมความคุ้มค่าของตน 3) ด้านวัฒนธรรม สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวกับวันพระ ประเพณีชุมชน และการส่งต่อวัฒนธรรมให้กับลูกหลาน 4) ด้านเศรษฐกิจ สนับสนุนกิจกรรมการอบรมอาชีพ ทำขนมและทำพานบายศรีเพื่อเสริมสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังควรจัดทำเป็นแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม

References

Andrew, H. A. & Roy, C. (1991). Essential of the Roy adaptation model. In The Roy adaptation model: The definitive statement. Connecticut: Appleton & Lange.

Chudech, S. (2003). General Psychology Study Guide. Bangkok: King Mongkut's University of Technology Thonburi.

Erikson Erik H. (1966). Eight ages of man. International Journal of Psychiatry, 2(3), 281- 300.

Khamkong, D. (2011). Factors affecting the quality of life of the elderly in Lamsing Subdistrict, Srinakarin District, Phatthalung Province. Master of Science Thesis: Thaksin University.

Khamsuwan, C. (2007). Management of the Songkhla Hospital Elderly Club, Mueang Songkhla District, Songkhla Province. Master of Arts Thesis: Thaksin University.

Krasob Subdistrict Administrative Organization. (2023). Local Development Plan (2023–2027). Ubon Ratchathani: Krasob Subdistrict Administrative Organization.

Lawanalaphanon, L. (2015). Quality of life and adaptation of the elderly in Khlong Ri Subdistrict, Sathing Phra District, Songkhla Province. Master's Degree: Thaksin University.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.

Mahatnirunkul, S. (2002). Stress Scale. Chiang Mai: Suan Prung Hospital, Department of Mental Health, Ministry of Public Health.

Mahatnirunkul, S. et al. (1998). Comparison of the World Health Organization's Quality of Life Scales for All 100 Indicators and 26 Indicators. Chiang Mai: Suan Prung Hospital.

National Elderly Commission. (2014). Situation of Thai Elderly 2014. Retrieved from http://WWW.dop.go.th

Paichit, P. (2015). Quality of life of the elderly in Surat Thani Province. Journal of Management Science, Surat Thani Rajabhat University, 2(2), 157-179.

Scott, H. Berk. (1982). Adjustment to and Satisfaction with Retirement. Journal Gerontology, 7(September), 623.

Sinlapacharu, T. (2012). Research and statistical data analysis with SPSS. (11sted). Bangkok: Business R&D.

Sodsong, K. (2018). Quality of life of the elderly in Phra Nakhon Si Ayutthaya Municipality, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of MBU Education, 6(1), 162-175.

Wongsuphalak, W. (2009). Adjustment of the Elderly Bank of Thailand Employees. Master of Arts Thesis: Kasetsart University.

World Health Organization. (1994). Division of Mental Health. Life Skills Education for Children and Adolescents in Schools. Geneva: World Health Organization.

Yotsan, C. (2008). Understanding the core teachings of Buddhism and the adaptation of the elderly. Master of Science Thesis: Ramkhamhaeng University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

สุวรรณรัตน์ เ., พากเพียร ไ., & กุลบุญญา ป. (2024). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในตำบลกระโสบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. Journal for Developing the Social and Community, 11(3), 263–276. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/281599