ปัจจัยเชิงสาเหตุในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อ ภาพลักษณ์องค์การและผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของผู้ผลิตน้ำดื่ม ในประเทศไทยบนพื้นฐานมุมมองลูกค้า

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ เอี่ยมพุทธรักษ์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ณฐนนท ทวีสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, ภาพลักษณ์องค์การ, ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน, ผู้ผลิตน้ำดื่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์การและผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของผู้ผลิตน้ำดื่มในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ขององค์การที่มีอิทธิพลคั่นกลางระหว่างการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของผู้ผลิตน้ำดื่มในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าชาวไทยที่บริโภคน้ำดื่มบริสุทธิ์และน้ำแร่บรรจุขวดแบรนด์ต่าง ๆ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 165 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้างแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน

ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลทางตรงต่อภาพลักษณ์ขององค์การของผู้ผลิตน้ำดื่มในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 แต่การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ส่งผลทางตรงต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของผู้ผลิตน้ำดื่มในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของผู้ผลิตน้ำดื่มในประเทศไทย โดยผ่านภาพลักษณ์องค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 81.2 ดังนั้น ผู้ผลิตน้ำดื่มในประเทศไทยควรมีการสร้างนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างโปรแกรมการอบรมที่เน้นการรับผิดชอบสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างระบบการควบคุมคุณภาพ สนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม และสร้างแผนการสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กร

References

กังสดาล เชาว์วัฒนกุล. (2556). พัฒนาการทางแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในบริบทของศาสตร์ต่าง ๆ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(1), 24-36.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.

จามรี จันทร์สุวรรณ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2561). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสมาคมยินนาสติกแห่งประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(1), 62-73.

จิราภรณ์ บุญยิ่ง และสุจิตรา จันทนา. (2564). รูปแบบการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วม จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(1), 326-337.

เจษฎา ทรัพย์อร่าม และวรัญพงศ์ บุญศิริธรรมชัย. (2565). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 9(1), 80-95.

น้ำผึ้ง ไชยทัศ, สมบัติ ธำรงสินถาวร และอารีรัตน์ ลีฬหะพันธุ์. (2564). การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง: บทบาทของตัวแปรการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 51-74.

ปภาวี บุญกลาง. (2560). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารเพื่อ การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษา สาขาในเขตอำเภอด่านขุนทด จังหวัด นครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 375-396.

ปวีณา สินขาว. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด จังหวัดปทุมธานี [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปิยะพงศ์ เอมสำราญ และสิริภักตร์ ศิริโท. (2555). การพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การอย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 15-28.

ไพฑูรย์ พรหมสุภร. (2563). แนวทางการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์และความสำเร็จของธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้า. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 179-194.

วราวุฒิ ไชยศร และบุญสม เกษะประดิษฐ์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคม 6 บริษัท. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 140-152.

วัลลี คำสมนึก. (2564). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกาฬสินธุ์จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจัยกรุงศรี. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/beverage/io/io-beverage-2022

ศดานันท์ ปั้นศรีทอง, รวี ลงกานี, อลิชา ตรีโรจนานนท์ และสุจรรย์พินธ์ สุวรรณพันธ์. (2564). ข่าวความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Journal of Business, Economics and Communications, 16(2), 64-85.

ศรีอำไพ อิงคกิตติ. (2566). ธุรกิจน้ำดื่ม น้ำแร่ และเครื่องดื่ม Functional Drink. https://www.lhbank.co.th/getattachment/9836544a-3068-4b9f-bf5e-ccdaae6839fa/economic-analysis-Industry-Outlook-2023-Drinking-mineral-water-and-functional-drink

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2552). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. โรงพิมพ์ไอคอนพรินติ้ง.

สถาบันอาหาร. (2564). ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทย. https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=329

สัมฤทธิ์ จำนงค์. (2557). ภาพลักษณ์องค์กรและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2562). ความสามารถในการจัดการนวัตกรรมเพื่อผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โสรยา สุภาผล และลัดดาวัลย์ สำราญ. (2565). อิทธิพลของความรับผิดชอบต่อสังคม และภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(3), 208-225.

องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย. (2563). คู่มือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม. https://www.market-organization.or.th/files/organization/CSR2563.pdf

อุไรรัตน์ อภิวัฒนกุล และจินตวีร์ เกษมศุข. (2565). รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบสังคมกับความยั่งยืนของธุรกิจ กรณีศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(3), 293-306.

Fernando, Y., Jabbour, C. J. C. & Wah, W. X. (2019). Pursuing green growing technology firms through the connections between environmental innovation and sustainable business performance: Does service capability matter?. Resources Conservation and Recycling, 141, 8-20.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Structural equation models with unobservable variables and measurement error: Algebra and statistics. Journal of Marketing Research, 18(3), 382-388.

Green Network. (2023). “ซีทรู” น้ำดื่มไทยไร้ฉลาก กวาดรางวัลทั่วโลก. https://www.greennetworkthailand.com/c2-water-no-label/

Henseler, J., Hubona, G., & Ray, P. A. (2016). Using PLS path modeling in new technology research: updated guidelines. Industrial management & data systems, 116(1), 2-20.

Kotler, P. (2000). Marketing Management (10th ed.). Pearson Prentice Hall.

Le, T. T. (2023). Corporate social responsibility and SMEs' performance: mediating role of corporate image, corporate reputation and customer loyalty. International Journal of Emerging Markets, 18(10), 4565-4590.

Memon, M. A., Ting, H., Cheah, J. H., Thurasamy, R., Chuah, F., & Cham, T. H. (2020). Sample size for survey research: Review and recommendations. Journal of Applied Structural Equation Modeling, 4(2), 1-20.

MGR Online. (2023). “สปริงเคิล” เปลี่ยนโฉมขวดน้ำดื่ม 3 ดีไซน์ใหม่ "ธารน้ำแข็งขั้วโลก" บันดาลใจ ลดสิ่งไม่จำเป็น ง่ายต่อการรีไซเคิล. https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000093449

Nikolaou, I. E., Tsalis, T. A. & Evangelinos, K. I. (2019). A framework to measure corporate sustainability performance: A strong sustainability-based view of firm. Sustainable Production and Consumption, 18, 1-18.

United Nation. (2011). The ten principles: United nations global compact. https://www.unglobalcompact.org/what-is-gc/mission/principles.

Verhoeven, M. E. M., & Bijlsma-Frankema, K. (2019). Corporate social responsibility and corporate reputation: A two-wave longitudinal study on the role of CSR in times of crisis. Journal of Business Ethics, 159(4), 1067-1082.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30