การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
- บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
- มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
- บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
- บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
บทความวิชาการ
บทความวิชาการ
เป็นบทความที่มุ่งถ่ายทอดความรู้ที่เกิดจาก การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์งานวิจัยและงานวิชาการ โดยมีการนำเสนออย่างเป็นระบบและตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่มีความเชื่อถือ มีการอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการอย่างเหมาะสมและเชื่อถือได้ มีการวิเคราะห์และวิจารณ์ที่ชี้ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ รวมถึงมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเหมาะสม การเขียนต้องยึดตามหลักวิชาการและจริยธรรมทางวิชาการ โดยส่วนประกอบของบทความวิชาการมีดังนี้
- ส่วนนำ โดยกล่าวถึงความเป็นมาที่สำคัญของประเด็นที่ต้องการนำเสนอ พื้นฐานขององค์ความรู้ที่ต้องการนำมาสนับสนุน ลักษณะหรือสภาพปัจจุบันของประเด็นที่ต้องการนำเสนอ มีความร่วมสมัย รวมถึงการแสดงข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ของบทความที่ผู้อ่านจะได้รับ
- ส่วนสาระสำคัญของบทความ ควรมีการจัดโครงสร้างและลำดับเนื้อหาสาระของบทความ โดยผู้เขียนควรมีการวางแผนในการลำดับเนื้อหาที่นำเสนอให้มีความเหมาะสม มีความต่อเนื่องและความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้ง่าย หากมีองค์ความรู้หลายส่วนที่ประกอบกันเป็นบทความ ควรแบ่งส่วนให้ชัดเจนตามลำดับที่เหมาะสมและควรแสดงการเชื่อมโยงแต่ละส่วนให้เหมาะสม
- ส่วนสรุป บทความวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญที่ได้กล่าวมาให้ชัดเจน อาจเป็นลักษณะของการย่อความและเลือกเก็บประเด็นสำคัญของบทความมาทบทวนความเข้าใจของผู้อ่าน ในส่วนของการสรุปท้ายบท
- ส่วนอ้างอิง บทความวิชาการจะต้องเป็นงานที่อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เกิดจากการสรุป วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ งานทางวิชาการของผู้อื่น จึงจำเป็นต้องมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามรูปแบบงานเขียนทางวิชาการ
บทความวิจัย
บทความวิจัย
เป็นบทความทางวิชาการที่มุ่งนำเสนอผลที่ได้จากการวิจัยที่มีระเบียบวิธีการดำเนินการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งบทความวิจัย ควรประกอบด้วย
- บทนำ (Introduction) / ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โดยนำเสนอถึงที่มาของการทำวิจัย ความสำคัญที่ทำให้เกิดงานวิจัย ควรมีการนำเสนอภาพรวมของบทความ สถานการณ์ปัจจุบันของประเด็นที่ศึกษา แนวโน้มที่สำคัญ รวมถึงการให้ความหมายหรือนิยามศัพท์เฉพาะ ตลอดจนประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย ทั้งประโยชน์ทางวิชาการและประโยชน์ในการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้
- การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่ครอบคลุมแนวคิดและทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ในการวิจัย รวมถึงงานวิจัยที่นำมาใช้สนับสนุนหรือตามที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานของกรอบแนวความคิดในการทำวิจัย
- วิธีการดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ควรมีการอธิบายถึงระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประชากรที่ใช้ในศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวนและวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แนวทางการวิเคราะห์ผลหรือวิธีการทางสถิติ
- ผลการวิจัย (Research Findings) ควรเป็นการนำเสนอผลการวิจัยที่ชัดเจน สอดคล้องและครอบคลุมตามชื่อเรื่อง โดยอาจนำเสนอตามลำดับของวัตถุประสงค์หรือสมมติฐาน แต่จะต้องมีการนำเสนอภาพ ตาราง ค่าทางสถิติ การทดสอบสมมติฐาน ให้ถูกต้องตามหลักสากล
- สรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) การสรุปควรทำการสรุปตามวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและควรมีการแสดงข้อค้นพบให้ชัดเจน สำหรับการอภิปรายผลควรนำข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยมาทำการอภิปรายให้เกิดภาพที่ชัดเจนต่อผู้อ่าน เช่น สาเหตุที่ผลวิจัยเป็นเช่นนั้น การสนับสนุนแนวคิดตามกรอบการวิจัยหรือไม่ มีความสอดคล้องและสนับสนุนแนวคิดหรือทฤษฎีที่นำมาเป็นพื้นฐานในการทำวิจัยหรือไม่
- ข้อเสนอแนะ ผู้เขียนควรทำการเสนอแนะในแง่มุมทางวิชาการ การเกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยตามบริบทและขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ ควรมีการสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษา รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับในแง่ของการในไปประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ ควรเสนอแนะในแง่ของงานวิจัยในอนาคตควรศึกษาประเด็นใดเพิ่มเติมหรือควรระวังข้อจำกัดใดบ้าง
- เอกสารอ้างอิง ทุกรายการอ้างอิงที่อยู่ในตัวบทความ จะต้องปรากฎรายการอ้างอิงท้ายบทความ และให้แสดงรายการอ้างอิงเฉพาะที่ปรากฎในบทความเท่านั้น (โดยรูปแบบการอ้างอิงให้ยึดตาม APA 6th )
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ