วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn <p>วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น จัดทำในรูปแบบวารสารวิชาการที่เผยแพร่เป็นราย 4 เดือน มีการเปิดรับบทความเพื่อเข้ารับการพิจารณา ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม (Review Article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น</p> Krisada.dba@gmail.com (ดร.กฤษดา เชียรวัฒนสุข) suraporn.top@gmail.com (ผศ. ดร.สุรพร อ่อนพุทธา) Fri, 27 Sep 2024 16:25:14 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 วิชาคนตัวเล็ก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/284547 <p>วิชาคนตัวเล็ก หนังสือที่เขียนโดย คุณพูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์วีเลิร์น เป็นหนังสือบอกเล่าเรื่องราวในการทำธุรกิจ จากการนำแนวคิด และประสบการณ์ในการทำธุรกิจของผู้เขียนมาบีบอัดและกลั่นกรอง ให้เหลือแต่หลักการสำคัญที่จำเป็นในการทำธุรกิจ การใช้ชีวิต และการพัฒนาตนเอง ถึงแม้ว่าเนื้อหา โดยส่วนใหญ่จะพูดถึงการดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) แต่เนื้อหาหลายส่วนของหนังสือยังคงระบุถึงแก่นของการดำเนินธุรกิจ การรับมือกับปัญญา และการต่อสู้ในการดำเนินธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้เป็นอย่างดี ในหนังสือเล่มนี้ มีการใช้คำศัพท์ทางวิชาการในสัดส่วนที่น้อย และมีการใช้คำศัพท์ที่ง่ายต่อการอ่านและการทำความเข้าใจ</p> นพปฎล สุวรรณทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/284547 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะผู้จัดการคลังสินค้าที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/271791 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะผู้จัดการคลังสินค้าที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวให้เหมาะสมกับบริบทของอุตสาหกรรม โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน รวมถึงใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ในการประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คุณสมบัติด้านความรู้ของผู้จัดการคลังสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำและความรู้ในด้านอื่น ๆ มีความต้องการสูงสุด ในแง่ของสมรรถนะหลัก พบว่า ความสามารถในการใช้คำพูดและการสื่อสารมีความต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ การวิเคราะห์สมรรถนะด้านแรงจูงใจของผู้จัดการคลังสินค้าพบว่า ทุกองค์ประกอบมีความต้องการอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะแรงจูงใจที่เกิดจากพนักงาน นอกจากนี้ การศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการกับความพึงพอใจต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าขาออกของผู้ประกอบการในกรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบังพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ข้อค้นพบเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะด้านต่าง ๆ ของผู้จัดการคลังสินค้าในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใน EEC เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีความสำคัญในการพัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายการฝึกอบรมที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะด้านเพื่อยกระดับความสามารถของผู้จัดการคลังสินค้าให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมและความต้องการของตลาดในอนาคต</p> ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/271791 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงและความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อ ความตั้งใจลาออก: กรณีศึกษาพนักงานบริษัท China Construction International https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278917 <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ 1) เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจในงาน และความตั้งใจลาออก และ 2) เพื่อสำรวจอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงและความพึงพอใจในงานที่มีต่อความตั้งใจลาออก โดยใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยพนักงานของบริษัท China Construction International จำนวน 400 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงและความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความตั้งใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) ภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; .001, β = -.530) และ 3) ความพึงพอใจในงานยังมีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (p &lt; .001, β = -.227) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงลบปานกลางต่อความตั้งใจลาออก ในขณะเดียวกัน ภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงลบเล็กน้อยต่อความตั้งใจลาออกของพนักงาน China Construction International นอกจากนี้ ความพึงพอใจในงานยังมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจลาออกจากองค์กรด้วย ผลลัพธ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของแนวทางปฏิบัติและกลยุทธ์ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจในงานและการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร เพื่อให้องค์กรมีความมั่นคงและคงอยู่ไปได้อย่างยั่งยืน</p> หลงฉู่ หลิว, ดวงพร พุทธวงค์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278917 Fri, 27 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบกระแสเงินสดกับอัตราส่วนทางการเงินต่อผลการดำเนินงานของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET 100 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278629 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าผลกระทบกระแสเงินสดกับอัตราส่วนทางการเงินต่อผลการดำเนินงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET 100 โดยนำข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิซึ่งเก็บรวบรวมจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี ระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 รวมระยะเวลา 3 ปี ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET 100 ที่มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน จำนวน 71 บริษัท รวม 219 ตัวอย่าง วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กระแสเงินสดส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ได้แก่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานด้านอัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น ในขณที่กระแสเงินสดจากกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ และอัตราส่วนทางการเงินส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น และความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ</p> สุชาดา ประเสริฐทองกร, จิรพงษ์ จันทร์งาม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278629 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277557 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 5) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงโดยมีช่วงอายุระหว่าง 30 - 39 ปี สถานภาพโสด การศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้างเอกชนมากที่สุด มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 150,001 – 300,000 บาท และส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองมากที่สุด ด้านความรู้พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยมีช่วงคะแนน 20-25 คะแนนมากที่สุด ระดับทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนที่ในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น (R) เท่ากับ 0.793 สัมประสิทธิ์สมการทำนายผลการเคราะห์ตัวแปรตาม (R<sup> 2</sup>) เท่ากับ 0.628 และ สัมประสิทธิ์ตัวกำหนดที่ปราศจากความเบี่ยงเบน (Adjusted R<sup> 2</sup>) เท่ากับ 0.625 โดยมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 62.50 แสดงว่า ตัวแปรอิสระของความรู้ และทัศนคติของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ส่งผลต่อตัวแปรตามประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 </p> พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277557 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้ความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอ็นเซอร์ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้บริโภคและสร้างการสื่อสารแบบบอกต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277657 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้ความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอ็นเซอร์ ทัศนคติต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้บริโภค และการสื่อสารแบบบอกต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีประวัติเคยบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาก่อนในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 - 2566 และมีการติดตามอินฟลูเอ็นเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง วิธีการเลือกตัวอย่างมี 2 ขั้นตอน คือการเลือกแบบกำหนดโควต้า แล้วเลือกแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในงานวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยโปรแกรม IBM SPSS AMOS</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้ความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอ็นเซอร์ด้านความปลอดภัยและความเหมือน มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบบอกต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง 0.832 และ 0.119 ตามลำดับ 2) การรับรู้ความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอ็นเซอร์ด้านความเหมือน มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง 0.238 3) ทัศนคติต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบบอกต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง 0.715 และ 4) การรับรู้ความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอ็นเซอร์ด้านความปลอดภัยและความเหมือน มีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่านทัศนคติต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรไปยังการสื่อสารแบบบอกต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง 0.595 และ 0.170 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นหากองค์กรธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้องการที่จะขับเคลื่อนองค์กร ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น จะต้องคัดเลือกอินฟลูเอ็นเซอร์ที่สามารถสร้างการรับรู้ความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยและด้านความเหมือนเป็นเครื่องมือ เพื่อใช้สื่อสารถึงกลุ่มผู้บริโภคจะส่งผลให้ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเกิดการสร้างการสื่อสารแบบบอกต่อบนโลกอินเทอร์เน็ต ผู้บริโภคจะรับรู้ เข้าใจ เข้าถึงตราสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากยิ่งขึ้นจะทำให้องค์กรเติบโตและสามารถแข่งขันได้ในการตลาดบนโลกอินเทอร์เน็ตต่อไป</p> คเณศ ศิริรัชตวงศ์, สุชัญญา สายชนะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277657 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน กรณีศึกษา กลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกตาแดง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/275282 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน กำหนดราคาขายและวางแผนกำไรที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์น้ำพริกตาแดงของตำบลป่าตุ้ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกตาแดงตำบลป่าตุ้ม จำนวน 41 ราย เครื่องมือในการวิจัยใช้เชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและนโยบายในการประกอบธุรกิจ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การผลิตน้ำพริกตาแดงต่อ 15 กิโลกรัม ขนาดบรรจุ 100 กรัม จำนวน 200 กระปุก มีต้นทุนการผลิตรวมเท่ากับ 3,338.00 บาท แบ่งเป็นวัตถุดิบทางตรง 1,574.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 47 ค่าแรงงานทางตรง 900.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 27 และค่าใช้จ่ายในการผลิต 864.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 26 ด้านการกำหนดราคาขาย และการคาดการณ์กำไร ทางกลุ่มพิจารณากำหนดราคาขายเพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการคือ 1 เท่าของต้นทุนการผลิต จากการคำนวณเท่ากับ 33.38 บาท ร่วมกับกลยุทธ์ราคาเชิงจิตวิทยาที่กำหนดราคาขายหน่วยละ 39.00 บาท ส่งผลให้กำไรจากการจำหน่ายเท่ากับ 4,421.00 บาทต่อครั้งการผลิต</p> มานพ ชุ่มอุ่น, อภิณัฏศ์ ญาณทักษะ, วาริพิณ มงคลสมัย, แวววรรณ ละอองศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/275282 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277938 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน และ 2) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 203 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทางสถิติ F -Test สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลประชากรศาสตร์ในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือนและสังกัดโรงเรียนในปัจจุบันที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 2) ภาวะผู้นำด้านวิชาการในด้านการมองการณ์ไกล มีหลักการ หลักในการทำงาน หลักการปกครอง ความมุ่งประสงค์ การวางแผน ความยืนหยัด การบริหารคน และความรักองค์การ มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และในด้านความจำเป็นพื้นฐานไม่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> จิรัชยา ดิษเจริญ, ปิยภรณ์ ชูชีพ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277938 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัล ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/274435 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 317 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ ตามวิธีการของ Scheffé </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี |ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ทักษะด้านการบริหารจัดการอารมณ์และความคิด มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทักษะความสามารถในการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทักษะในการเป็นคู่คิดผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และส่วนค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ทักษะความรู้ด้านธุรกิจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 2) นักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีทักษะการปรับตัวแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> มณีรัตน์ เอียดงามสม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/274435 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน กระแสเงินสด และการบริหารหนี้ ส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET 100 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278628 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน กระแสเงินสดและการบริหารหนี้ที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET 100 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 89 บริษัท รวมทั้งสิ้น 267 ข้อมูล ศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2563-พ.ศ.2565 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) การลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่การกำกับดูแลกิจการ (CGR) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) กิจกรรมดำเนินงาน (CFO) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) แต่กิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (DA) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) การลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่การกำกับดูแลกิจการ (CGR) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) กิจกรรมดำเนินงาน (CFO) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) แต่กิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 6) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (DA) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE) และอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (TIE) ไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7) การลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (DJSI) และการกำกับดูแลกิจการ (CGR) ไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 8) กิจกรรมดำเนินงาน (CFO) และกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 9) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (DA) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (TIE) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> วริศรา เศวตศิลป์, ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278628 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700