https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/issue/feed วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น 2025-04-30T15:38:35+07:00 ดร.กฤษดา เชียรวัฒนสุข Krisada.dba@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น จัดทำในรูปแบบวารสารวิชาการที่เผยแพร่เป็นราย 4 เดือน มีการเปิดรับบทความเพื่อเข้ารับการพิจารณา ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม (Review Article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/288888 เรียนลัดบริหารธุรกิจ The Pocket MBA 2025-04-30T15:38:35+07:00 ไพโรจน์ เหมือนสอาด 6701436500001@ptu.ac.th <p><strong>เรียนลัดบริหารธุรกิจ </strong><strong>The Pocket MBA</strong> คือหนังสือที่สามารถเปลี่ยนแปลงมุมมองของคุณเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ด้วยการผสมผสานกรอบแนวคิดที่ชัดเจนและกรณีศึกษาที่จับต้องได้ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดการบริหารแบบดั้งเดิม แต่ยังชี้นำวิธีการปรับตัวในโลกธุรกิจยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของหนังสืออยู่ที่การสร้างภาวะผู้นำที่หลากหลาย การพัฒนาทีมอย่างมีกลยุทธ์ และการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า แม้จะมีข้อจำกัดในเชิงลึกด้านเทคนิค แต่เนื้อหาที่นำเสนอจะสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตจริง หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองและก้าวสู่ความสำเร็จในเส้นทางธุรกิจ</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/283260 บุพปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในกรมราชทัณฑ์ในจังหวัดปทุมธานี 2024-11-12T19:09:38+07:00 มัณทนา ชำนาญกิจ Mantana_c@mail.rmutt.ac.th นฤมล จิตรเอื้อ naruemon_j@rmutt.ac.th ธีทัต ตรีศิริโชติ teetut@go.buu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวัดผลเชิงดุลยภาพ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคลากร และคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสังกัดกรมราชทัณฑ์ในจังหวัดปทุมธานี รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 480 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยวิธี PLS-SEM โดยพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ และขนาดของผลกระทบ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การวัดผลเชิงดุลยภาพมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตการทำงานทั้งทางตรง (0.602) และทางอ้อม (0.0285) ผ่านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมเป็นอิทธิพลรวม 0.887 (p &lt; 0.001, f² = 0.72) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน (0.328, p &lt; 0.001, f² = 0.215) และการวัดผลเชิงดุลยภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (0.866, f² = 3.003, p &lt; 0.001) สามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตการทำงานได้ 81.3% (R² = 0.813) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้แก่ 1) การวัดผลเชิงดุลยภาพเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด 2) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองปัจจัย องค์ความรู้ใหม่คือ การค้นพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการวัดผลเชิงดุลยภาพและคุณภาพชีวิตการทำงานในบริบทของหน่วยงานราชการไทย ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในภาคเอกชนที่มักพบว่าปัจจัยด้านค่าตอบแทนมีความสำคัญสูงสุด</p> 2025-03-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/280500 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ ในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 2024-08-15T18:40:03+07:00 ชินีนาถ หมายเหนี่ยง 2653001848@stou.ac.th นฤบดี วรรธนาคม narubodee.wat@stou.ac.th ภาวิน ชินะโชติ pavin.chi@stou.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) ศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 3) ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 4) ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ และ 5) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 27 - 44 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีตำแหน่งงานเป็นนักจัดการงานทั่วไปและนิติกร และมีระยะเวลาการปฏิบัติงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี 2) ข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 เล็งเห็นว่าปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก 3) ข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7 เล็งเห็นว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างมาก 4) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ พบว่า ด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน และ 5) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านลักษณะงาน และปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 7</p> 2025-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278488 ความสัมพันธ์ของการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการดำเนินกิจการและมูลค่าองค์กร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน THSI 2024-12-03T10:52:35+07:00 วรพรรณ เขียวรูจี worapan.khiewrujee1@gmail.com สุรีย์ โบษกรนัฏ awc272727@gmail.com ถิรวุฒิ ยังสุข awc272727@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการและมูลค่าองค์กร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน THSI เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงคือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มหุ้นยั่งยืน THSI อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2563 - 2565 จำนวน 3 ปี 90 บริษัท ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างจะมีจำนวนทั้งสิ้น 270 ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อประสิทธิภาพ การดำเนินกิจการด้านอัตรากำไรสุทธิ ประสิทธิภาพการดำเนินกิจการด้านอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ประสิทธิภาพ การดำเนินกิจการด้านอัตราผลตอบแทนจากกำไรสุทธิต่อหุ้น ประสิทธิภาพการดำเนินกิจการ ด้านอัตราเงินปันผลต่อหุ้น และการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนด้านสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินกิจการด้านอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ ประสิทธิภาพการดำเนินกิจการด้านอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 และ 2) การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อมูลค่าองค์กรด้านอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ และการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนด้านสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อมูลค่าองค์กรด้านอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี ในขณะที่ การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนด้านบรรษัทภิบาลมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อมูลค่าองค์กรด้าน Tobin’s Q มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </p> 2025-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/281985 การวางแผนการเงินสำหรับเตรียมตัวเกษียณของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดล 2024-10-14T21:01:29+07:00 ชญาภา ธารทัศน์สกุล chayapa.mu2024@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนทางการเงินของบุคลากรสายสนับสนุน เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงิน และเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ประกอบการวางแผนและส่งเสริมการวางแผนทางการเงินให้แก่บุคลากรสำหรับการเตรียมตัวก่อนวัยเกษียณ ใช้การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 375 คนสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)</p> <p>ผลการศึกษาสรุปได้ว่า บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดลส่วนใหญ่มีการวางแผนทางการเงินอยู่ในระดับมาก และปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อการวางแผนทางการเงินที่แตกต่างกันโดยเฉพาะปัจจัยด้านอายุ ปัจจัยด้านจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ร่วมกันในปัจจุบัน ปัจจัยด้านระดับการศึกษา ปัจจัยด้านประเภทการจ้าง ปัจจัยด้านระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล และปัจจัยด้านเงินเดือน อย่างไรก็ตามยังพบว่าปัจจัยด้านเพศ ปัจจัยด้านสถานภาพการสมรส ปัจจัยด้านจำนวนบุตรและปัจจัยด้านตำแหน่งงานที่ปฏิบัติในปัจจุบันไม่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินที่แตกต่าง </p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278983 การศึกษากระบวนการในการระบุตัวผู้ป่วยที่เป็นบุคคลสาธารณะในมุมมองของผู้ให้บริการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 2025-02-06T11:11:23+07:00 ปมัยพร ธนดุจเพชร pramaiporn1983@gmail.com จรัชวรรณ จันทรัตน์ jaratchwahn_jan@utcc.ac.th ธีรข์กรณ์ อุดมรัตนะมณี theerakorn_udo@utcc.ac.th กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ doctorkrit@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการระบุตัวผู้ป่วยที่เป็นบุคคลสาธารณะในมุมมองของผู้ให้บริการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และเพื่อวางมาตรฐานการปฏิบัติงานจากการปรับปรุงกระบวนการระบุตัวผู้ป่วยที่เป็นบุคคลสาธารณะ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนำมาใช้ร่วมกันในทุกหน่วยงาน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 33 คน โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรผู้ให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนระดับปฏิบัติการ อายุงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ที่ให้การรักษาพยาบาลหรือการบริการผู้ป่วยที่เป็นบุคคลสาธารณะอย่างน้อย 5 ครั้งขึ้นไปในช่วงระยะเวลา 2 ปี เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) กระบวนการระบุตัวผู้ป่วยส่วนใหญ่ดำเนินการตามนโยบาย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล และวันเดือนปีเกิด ผ่านป้ายข้อมือและคำถามปลายเปิดใน 9 Touch Points ตลอดเส้นทางบริการ และ 2) การวางมาตรฐานการปฏิบัติงานจะต้องมุ่งเน้นความสำคัญของการระบุตัวผู้ป่วยเป็นอันดับแรกในกิจกรรมบริการ การมีผู้ประสานงานดูแลบุคคลสาธารณะตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการรักษา พร้อมการใช้สัญลักษณ์เฉพาะในระบบ เพื่อแจ้งเตือนข้อควรระวังและความต้องการพิเศษ เป็นแนวทางเสริมความปลอดภัย และจุดระบุผู้ป่วยสำคัญต้องเน้นย้ำในเชิงระบบ โดยใช้หลัก PDCA และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการตรวจสอบตัวตน ช่วยลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อบริการและตราสินค้าโรงพยาบาล</p> 2025-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278634 การวิเคราะห์ผลงานการแกะสลักไม้ขงจื๊อ สำหรับการผลิตของเล่นสะสมร่วมสมัยในมณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน 2025-04-23T14:08:13+07:00 ชุนหวาง เจีย jiachunwang.bkkthon2024@gmail.com กรกฎ อารมณ์ดี jiachunwang.bkkthon2024@gmail.com ชนิตา ไกรคง jiachunwang.bkkthon2024@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลงานศิลปะการแกะสลักไม้ของขงจื๊อในสมัยชุนชิวและสมัยปัจจุบัน และ 2) วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างผลงานศิลปะการแกะสลักไม้ของขงจื๊อในสมัยชุนชิวและสมัยปัจจุบันเพื่อศึกษาการประยุกต์แนวคิดและเทคนิคดั้งเดิมในการออกแบบงานร่วมสมัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมการแกะสลักไม้ขงจื๊อของซานตง ศึกษาความเป็นมา ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผลงานศิลปะการแกะสลักไม้ขงจื๊อของซานตง รวมถึงการใช้วัสดุ เทคนิคการผลิต และการจัดการรายละเอียด และใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย นักออกแบบของเล่น อาจารย์ นักวิจัยวัฒนธรรม จำนวน 15 คน เพื่อวิเคราะห์ผลงานการแกะสลักไม้ของขงจื๊อในสมัยชุนชิวและผลงานในปัจจุบัน การผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอารมณ์ ความน่าสนใจในของเล่นสะสมร่วมสมัยให้กับบุคคลที่สนใจผลงานการแกะสลักไม้และนักสะสม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) งานประติมากรรม ผลงานการแกะสลักไม้ขงจื๊อในซานตงเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่เพียงแต่มีความสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าในการสะสม ผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงคุณภาพจะสามารถเพิ่มคุณค่าและมูลค่า รวมทั้งการสืบทอดแนวคิดของขงจื๊อสู่คนรุ่นต่อไป และ 2) การบูรณาการองค์ประกอบของขงจื๊อเข้ากับวัฒนธรรมด้วยการผลิตของเล่นสะสมร่วมสมัย การสอดแทรกเรื่องราวความเป็นมา ความหมายแฝง แนวคิดและคุณค่าทางวัฒนธรรมของขงจื๊อให้กับผลงานประติมากรรมการแกะสลักไม้ขงจื๊อของซานตงจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอารมณ์ เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการรวมเข้าด้วยกันของวัฒนธรรมดังเดิมและความร่วมสมัย สร้างแรงดึงดูดใจของนักสะสมของเล่นวัฒนธรรมและบุคคลที่สนใจ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการสืบทอดและพัฒนาวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม</p> 2025-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/282202 การวิเคราะห์รูปแบบและปัญหาในการดำเนินงานของ SHANGHAI DING DONG ART SCHOOL 2025-03-04T08:08:41+07:00 จินหยัง หลี่ jinyang.kmitl2024@gmail.com ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ jinyang.kmitl2024@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานปัจจุบัน รูปแบบธุรกิจ และรูปแบบหลักสูตรของ Shanghai Ding Dong Art School และ 2) วิเคราะห์รูปแบบการจัดการ ปัญหาและแนวทางในการดำเนินงานของ Shanghai Ding Dong Art School การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการดำเนินงาน รูปแบบธุรกิจ และหลักสูตรของ Shanghai Ding Dong Art School จากหนังสือ วิจัย และบทความที่เกี่ยวข้อง และใช้วิธีการวิเคราะห์ SWOT เพื่อทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของ Shanghai Ding Dong Art School สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาศิลปะและอุตสาหกรรม จำนวน 5 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลของรูปแบบปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาจากเนื้อหาการสัมภาษณ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) Shanghai Ding Dong Art School เป็นสถาบันศิลปะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจ กลุ่มผู้อยู่อาศัยมีรายได้สูง มีรูปแบบการดำเนินการที่สะท้อนให้เห็นปัจจัยในเรื่องความอิ่มตัวของตลาดโรงเรียนศิลปะ ความกดดันทางการแข่งขัน การหมุนเวียนของบุคลากรและข้อกำหนดของรัฐบาล โรงเรียนมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อต้นทุนการดำเนินการ และ 2) รูปแบบการจัดการ ปัญหาและแนวทางในการดำเนินงาน Shanghai Ding Dong Art School มีกลยุทธ์และทิศทางการพัฒนาแบบอนุรักษ์นิยม ขาดการพัฒนาการตลาดในระดับสูง การวางกลไกในการจัดการตำแหน่งของบุคลากรที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา สำหรับกลยุทธ์การพัฒนาและแนวทางในการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ การขยายขนาดของโรงเรียน การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน ความร่วมมือและกลไกการสำรองบุคลากรทางการสอน</p> 2025-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278630 การวิเคราะห์ลักษณะและรูปแบบของศิลปะหมอผีในเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน 2025-04-23T14:01:19+07:00 โมรู ลี llimoru.bkkthon2024@gmail.com ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ llimoru.bkkthon2024@gmail.com สมพล ดำรงเสถียร llimoru.bkkthon2024@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของศิลปะหมอผีเสิ่นหยาง และ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและรูปแบบทางวัฒนธรรมของศิลปะหมอผีเสิ่นหยาง การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อวิเคราะห์ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม และสรุปและแยกแยะคุณค่าของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมหมอผีเสิ่นหยาง จากการรวบรวมวรรณกรรมและการตรวจสอบในสถานที่ วิเคราะห์ลักษณะ รูปแบบ และองค์ประกอบของศิลปะหมอผีเสิ่นหยาง โดยการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมศิลปะหมอผีเสิ่นหยาง ด้านภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยวัฒนธรรม และผู้บริหารอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม จำนวน 7 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ศิลปะหมอผีเสิ่นหยางเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นโดยหมอผีลัทธิชาแมนเป็นศาสตร์ดั้งเดิมและระบบความเชื่อทางจิตวิญญาณ แสดงถึงการบูชา การเคารพต่อธรรมชาติ พระเจ้าและบรรพบุรุษ ซึ่งมีรูปแบบของศิลปะที่หลากหลาย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สิ่งทอ โดยการรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านนำเสนอแบบจำลองการทำซ้ำความคิดทางจิตวิญญาณ และใช้เทคนิคการแสดงออกทางศิลปะเชิงสัญลักษณ์ เพื่อสะท้อนความเข้าใจของวัฒนธรรม แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ และ 2) ศิลปะหมอผีในเสิ่นหยาง ไม่เพียงแต่การรักษารูปแบบดั้งเดิมและเรียบง่ายเท่านั้น แต่ยังรวมเอาความหมายแฝงทางวัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น สร้างรูปแบบให้เกิดกระแสความรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับการสร้างสรรค์และการพัฒนาศิลปะร่วมสมัย</p> 2025-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/278631 การวิเคราะห์วัสดุธรรมชาติเพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร ในมณฑลหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน 2025-04-23T13:54:55+07:00 เซียว เซียว xiaoxiao.bkkthon2024@gmail.com กรกต อารมณ์ดี xiaoxiao.bkkthon2024@gmail.com สรรวดี เจริญชาศรี xiaoxiao.bkkthon2024@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร และ 2) วิเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้วัสดุธรรมชาติร่วมกับกระบวนการหัตถกรรมดั้งเดิมและนวัตกรรมสมัยใหม่ในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) วัสดุจากพืชธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบตอง หญ้าแห้ง 2) วัสดุรีไซเคิลจากการแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น เปลือกไข่ ใบอ้อย และ 3) วัสดุที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เช่น ใยสับปะรด แป้งชีวภาพ เส้นใยจากพืชท้องถิ่น งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ใช้ 3 แนวทางหลัก คือ การสังเกตประสบการณ์ชีวิต การประยุกต์งานหัตถกรรมแบบดั้งเดิม เช่น การทอและการสานไม้ไผ่ และการประยุกต์เทคโนโลยีนวัตกรรม เช่น การพิมพ์ 3 มิติและการขึ้นรูปวัสดุชีวภาพ ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ข้าวหลอดไม้ไผ่และบรรจุภัณฑ์ชา CHAMU แสดงให้เห็นการผสมผสานวัสดุธรรมชาติกับกระบวนการแปรรูปอย่างสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ข้อค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการเลือกวัสดุและกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสามารถส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและถ่ายทอดคุณค่าทางวัฒนธรรมผ่านผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น