การเรียนรู้แบบองค์รวมของแรงงานระดับช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรต่อประสิทธิภาพการทำงาน และมีการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรเป็นตัวแปรกำกับ

ผู้แต่ง

  • ธีทัต ตรีศิริโชติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบองค์รวม , การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร , แรงงานระดับช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียนรู้แบบองค์รวมของแรงงานระดับช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร และประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้แบบองค์รวมของแรงงานระดับช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรต่อประสิทธิภาพการทำงาน และเพื่อตรวจสอบอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการเรียนรู้แบบองค์รวมและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและมีการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแรงงานระดับช่างเทคนิคที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยกำหนดรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ การทดสอบสมมติฐานนั้นใช้การวิเคราะห์โดยใช้ วิธี สมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรแฝงและตัวแปรสังเกตได้เป็นแบบ Reflective โดยสถิติที่ใช้เป็นไปตามเกณฑ์การวัดแบบจำลองภายนอกหรือแบบจำลองการวัด และเกณฑ์การวัดแบบจำลองภายในหรือโมเดลโครงสร้าง

ผลการวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้าง พบว่า การเรียนรู้แบบองค์รวมของแรงงานระดับช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานมีค่าเท่ากับ 0.7238 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานมีค่าเท่ากับ 0.1416 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 และการเรียนรู้แบบองค์รวมของแรงงานระดับช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและมีการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรเป็นตัวแปรกำกับมีค่าเท่ากับ 0.0967 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01

References

กรวิกา มีสามเสน และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). ปัจจัยในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 228-241.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์และการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-oie.pdf

คณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2564). แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566-2570. https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter/eec-development-plan/plan.pdf

ชิติพัทธ์ วรารัตน์นิธิกุล. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(104), 183-199.

ภาณุ ปัณฑุกำพล และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 6(1), 138–151.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). Meta skills กับการคิดแบบองค์รวม. http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Meta%20skills_1575259642.pdf

วีระยา ทองเสือ. (2566). ส่องทิศทางอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ปี 2566-2567. https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_1918Research_Note_Auto_Part_20_03_66.pdf

สมประวิณ มันประเสริฐ. (2565). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2566-2570. https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/outlook-2022-2024

Aiyub, A., Yusuf, E., Bintan, R., Adnan, A., & Azhar, A. (2021). The Effect of Employee Engagement on Employee Performance with Organizational Commitment as Intervening Variable and Perceived Organization Support as a Moderating Variable at The Regional Secretariat of Bireuen District. Jurnal Visioner & Strategis, 10(2), 1-15.

Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived organisational support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500–507.

George, J. M., & Jones, G. R. (2002). Understanding and Managing Organizational Behavior (3rd ed.). Prentice-Hall.

Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. Bantam Books.

Hair, J., Ringle, C., & Sarstedt, M. (2011). PLS-SEM: Indeed a Silver Bullet. Journal of Marketing Theory and Practice, 19, 139-151. https://doi.org/10.2753/MTP1069-6679190202

Henseler, J., Dijkstra, T. K., Sarstedt, M., Ringle, C. M., Diamantopoulos, A., Straub, D. W., Ketchen, D. J., Hair, J. F., Hult, G. T. M., & Cantalone, J. R. (2014). Common beliefs and reality about PLS: Comments on Rönkkö & Evermann (2013). Organizational research methods, 17(2), 182-209. https://doi.org/10.1177/1094428114526928

Klapper, R. G., & Fayolle, A. (2023). A transformational learning framework for sustainable entrepreneurship education: The power of Paulo Freire's educational model. The International Journal of Management Education, 21(1), 100729.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business organization and management. Richard D. Irwin.

Shore, L. M., & Tetrick, L. E. (1991). A construct validity study of the survey of perceived organisational support. Journal of Applied Psychology, 76(5), 637–643.

Singleton, J. (2015). Head, heart and hands model for transformative learning: Place as context for changing sustainability values. Journal of Sustainability Education, 9(3), 171-187.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

ตรีศิริโชติ ธ. (2024). การเรียนรู้แบบองค์รวมของแรงงานระดับช่างเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรต่อประสิทธิภาพการทำงาน และมีการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรเป็นตัวแปรกำกับ. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 6(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/274844