การฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2: ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา อ่ำทิม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พฤทธิ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเมืองรอง , ภาคเหนือตอนล่าง 2 , ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19, การฟื้นฟูและพัฒนา , อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นและเป็นแหล่งรายได้และเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการลดลงของรายได้ในอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการอันเป็นผลพวงมาจากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งการใช้มาตรการและนโยบายในการควบคุมและจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เข้มแข็งยังส่งกระทบเชิงลบอย่างมหาศาลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมหรือข้างเคียง ดังนั้นภายหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 รัฐบาลจึงได้ทำการศึกษาและทบทวนผลกระทบดังกล่าว เพื่อใช้มาตรการและนโยบายให้ความช่วยเหลือในมิติต่าง ๆ เพื่อทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฟื้นตัว พร้อมทั้งทำการเปิดประเทศและยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดดังกล่าว ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะดีขึ้นภายหลังการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ตาม การกระจุกตัวของรายได้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะอยู่ในเมืองหลัก เช่น เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และภูเก็ต เป็นต้น ยังเป็นประเด็นสำคัญที่ภาครัฐให้ความสำคัญในการแก้ไขและจัดการปัญหาดังกล่าว เพื่อกระจายรายได้ไปยังกลุ่มจังหวัดเมืองรอง เพื่อขยายโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างของรายได้ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการกำหนดแผนยุทธ์ศาสตร์การท่องเที่ยวหลายฉบับ โดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดภาคเหนือต่าง 2 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานีที่มีศักยภาพและอัตลักษณ์เฉพาะตัวของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงทำเลที่ตั้งที่สามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว. https://www.dot.go.th/กลุ่มแผน/5V7jtvCF7hvNiPXPU7MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จับมือ กสทช. สร้างความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย. https://www.mots.go.th/news-view.php?nid=12744

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติของจังหวัดที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดในแต่ละภาคปี 2565. https://www.thailand.go.th/issue-focus-detail/001_02_026?hl=th

กรุงเทพธุรกิจ. (2561). นโยบายสำหรับเมืองท่องเที่ยวรอง. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/119182

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). จ่อผุดเฟส 2 'เราเที่ยวด้วยกัน' กระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง. https://www.bangkokbiznews.com/business/889684

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). 'ททท.' เชื่อมั่นแผนรัฐคุมโควิด เดินหน้าโรดแมพเปิดประเทศ. https://www.bangkokbiznews.com/business/932028

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2. (2562). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๒ (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕. http://osmnorth-n2.moi.go.th/demo/wp-content/uploads/2020/04/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน-2-ระยะ-5-ปี.pdf

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2563). แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๕ ฉบับทบทวน. http://www.plan.cmru.ac.th/file_update/new_plan/budget2565/PlanNorth63.pdf

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. Tourism Economic Review, 1(4), 1-65.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยว เดือนมกราคม 2564. https://www.mots.go.th/download/article/article_20210311160158.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย. http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/t26323.pdf

คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) กลุ่มภาคเหนือ. (2562). รายงานสรุปผลการประชุมปรึกษาหารือรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๑ (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐). http://www.osmnorth-s1.moi.go.th/storage/events/รายงานสรุปผลการประชุมปรึกษาหารือรับฟังค.pdf

จิตคุปต์ ละอองปลิว. (2562). การท่องเที่ยวเมืองรอง : ทางเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี. อินทนิลทักษิณสาร, 14(2), 39-60.

ชาญชัย คำจำปา และภักดี โพธิ์สิงห์. (2564). นโยบายทางเศรษฐกิจกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในยุคโควิด-19. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 99-116.

ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน และมารุต สุขสมจิตร. (2564). การท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่งวิถีใหม่ ภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารธรรมศาสตร์, 40(3), 161-190.

ไทยโพสต์. (2566). ราชกิจจาฯ ประกาศคำสั่ง 'ศบค.' เปิดประเทศเต็มรูปแบบ 1 พ.ค.65. https://www.thaipost.net/hi-light/133171/

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). ททท.ส่งสัญญาณพร้อมทำการตลาด ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 10 ล้านคน. https://www.thairath.co.th/news/local/2019276

ธนาคารกรุงเทพ. (2566). BCG Model สู่ BCG Tourism แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทย ส่วนผสมความยั่งยืน. https://www.bangkokbanksme.com/en/23-2up-bcg-model-to-bcg-tourism

บุษราภรณ์ กอบกิจพานิชผล. (2565). การวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 17(2), 89-108.

ปพน บุษยมาลย์, ศรินทร์ญา จังจริง, สุวิมล แซ่ก่อง, อิสยัส มะเก็ง, มะพาริ กะมูนิง, สุวิมล อิสระธนาชัยกุล, และมุบดี อุเด็น. (2562). การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี : กรณีศึกษาตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายด้านการจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 (น.71-72). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). สตง.พบ “นโยบายเที่ยวเมืองรอง รบ.ประยุทธ์ 1” งบกว่า 1.1 พันล. กระจุกตัวแค่บางจังหวัด เฉพาะ 3 จังหวัดท้าย นทท.แค่ 2%. https://mgronline.com/politics/detail/9630000067071

มติชนออนไลน์. (2565). ‘พิพัฒน์’ วางนโยบายเดินหน้าท่องเที่ยวไทยปี’65 เติบโตทั่วถึง-สมดุลย์-ยั่งยืน ย้ำปั้นรายได้ 1.2 ลลบ. https://www.matichon.co.th/economy/news_3166366

วอยซ์ทีวี. (2559). จาก Brexit สู่ผลกระทบภาคท่องเที่ยว. https://www.voicetv.co.th/read/383229

ศักดิ์ชาย เพ็ชรศรีทอง, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, จิตติมา ดำรงวัฒนะ และเดโช แขน้ำแก้ว. (2564). แนวทางส่งเสริมอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบของเกษตรกรรายย่อยบ้านหน้าเขา อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 5(1), 33-46.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ทิศทางตลาดไทยเที่ยวไทยปี 2564 การฟื้นตัว…คงต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการควบคุมโรคโควิด-19 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3180). https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Thai-Travel-z3180.aspx

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (2566). มาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. https://www.masci.or.th/iso-21401-strengthens-tourism-industry-management/

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานประจำปี 2562 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. https://www.mots.go.th/download/AnnualReport/AnnualReport2562compressed.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานประจำปี 2563 การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานประจำปี 2561 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ. https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office

Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text. Hodder Education.

Kline, C., McGehee, N., & Delconte, J. (2019). Built capital as a catalyst for community-based tourism. Journal of Travel Research, 58(6), 899-915.

Mansilla, J. A., & Milano, C. (2022). Becoming centre: Tourism placemaking and space production in two neighborhoods in Barcelona. Tourism geographies, 24(4-5), 599-620.

Razali, M. K., & Ismail, H. N. (2014). Tourism Place-Making at Tourism Destination from a Concept of Governance. International Journal of Ecology and Development, 30(3), 88-97.

TAT Review Magazine. (2562). ทิศทางท่องเที่ยวไทยในปี 2562. https://tatreviewmagazine.com/article/tourism-thailand-2562/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30