ปัญหาการจัดทำแผนที่กลางกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐที่มีผลกระทบต่อเอกชน

ผู้แต่ง

  • นพพล ทวีโคตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

แผนที่กลาง, การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ, One Map

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินโครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4,000 หรือโครงการ One Map ที่มีผลกระทบต่อเอกชน ซึ่งการดำเนินการมีความคล้ายคลึงกับการดำเนินนโยบายแผนที่เดียว (One Map Policy : OMP : Kebijakan Satu Peta : KSP) ของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สำหรับโครงการ One Map นี้ ได้กำหนดให้มีหลักเกณฑ์กลางสำหรับการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกัน โดยมี 13 หลักเกณฑ์ สามารถจำแนกได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ หลักเกณฑ์การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกันโดยให้ใช้เส้นแนวเขตที่ดินของรัฐที่โตกว่า หลักเกณฑ์การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกันโดยให้ใช้เส้นแนวเขตที่ดินของรัฐที่ได้รับการกำหนดขึ้นก่อน และหลักเกณฑ์การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกันโดยให้ใช้แนวเขตที่ดินของรัฐที่มีการรังวัดตามหลักวิชา จากการศึกษา พบว่า โครงการ One Map ไม่ได้แก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิม และอาจเพิ่มเติมปัญหาซึ่งกระทบต่อเอกชนโดยเฉพาะเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองก็ตามซึ่งมีสาเหตุมาจากหลักเกณฑ์กลางสำหรับปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐนั่นเอง บทความนี้ นอกจากจะได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาข้างต้นแล้ว ยังได้เสนอให้มีกฎหมายสำหรับบังคับใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ กับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิสูจน์สอบสวนสิทธิในที่ดินสำหรับการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินด้วยการตรวจสอบจากแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยรวดเร็วขึ้น และลดปัญหาการทุจริตของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้

References

ไปรมา สิงหรักษ์. (ม.ป.พ.). ปัญหาการทับซ้อนในพื้นที่ป่าไม้ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. Retrieved from https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/1532543843.ee4f582540a80175375a83ca44814f1b.pdf.

คณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map). (2559). การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4,000 (One Map). Retrieved from https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/580223

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 214/2538.

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 307/2549.

ประมวลกฎหมายที่ดิน.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551.

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518.

พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511.

พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558.

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562.

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504.

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ศุภัทร ภัทรสุนทร. (2555). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Abidin, H. Z., & Wijanarto, A. (2021). One Map Policy of Indonesia: Status, Challenges, and Prospects.

https://www.researchgate.net/publication/352761169_One_Map_Policy_of_Indonesia_Status_Challenges_and_Prospects

Agung Wibowo and Lukas Giessen. (2015). Absolute and relative power gains among state agencies in forest-related land use politics: The Ministry of Forestry and its competitors in the REDD+ Programme and the One Map Policy in Indonesia. Land Use Policy, 49.

https://doi.org/10.1016/j.landusepol.2015.07.018

Basic Forestry Law (Act No. 5/1967).

Henrikson, L. R. (1947). Administrative Law: Retroactive Revision of Invalid Regulations. Calif. L. Rev., 35.

Kaitlyn Justine Bretz. (2017). Indonesia's One Map Policy: A Critical Look at the Social Implications of a 'Mess' (Senior Thesis, University of South Carolina).

Mulyani, M., & Jepson, P. (2017). Does the 'One Map Invitative' Represent a New Path for Forest Mapping in Indonesia? Assessing the Contribution of the REDD + Invitative in Effecting Forest Governance Reform. Forest, 8(14).

Peluso, N. L. (1995). Whose woods are these? Counter‐mapping forest territories in Kalimantan, Indonesia. Antipode, 27(4).

Perturan Presiden Republik Indonesia Nomor 9 Tahun 2016 Tentang Percepatan Pelaksanaan Kebijakan Satu Peta Pada Tingkat Ketelitian Peta Skala.

Rini Astuti and Andrew McGregor. (2015). Responding to the green economy: how REDD+ and the One Map Initiative are transforming forest governance in Indonesia. Third World Quarterly, 36(12).

UNFCCC. (n.d.). Bali Road Map Intro. Retrieved from https://unfccc.int/process/conferences/the-big-picture/milestones/bali-road-map

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31