การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ในยุควิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สินิทรา สุขสวัสดิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการซื้อ, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, วิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ 2) ศึกษากระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในยุควิถีชีวิตใหม่ 3) วิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการในยุควิถีชีวิตใหม่ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายผลการศึกษา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการในยุควิถีชีวิตใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์ กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อซื้อสินค้าในยุควิถีชีวิตใหม่ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นมากที่สุดเท่ากัน คือ ด้านการรับรู้ปัญหาหรือความต้องการ และด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานรูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในยุควิถีชีวิตใหม่ พบว่า รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ด้านเครื่องมือทางการตลาดดิจิทัลมีผลมากที่สุด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กรมสรรพากร. (2565). ความรู้เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ. https://www.rd.go.th/26228.html

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชมพูนุท กิตติดุลยการ. (2558). กระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. TU Digital Collection. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:94455

ชัยชนะ แซ่จัง. (2562). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าในสังคมเครือข่ายออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. DSpace at Maejo University. http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/139

ณงลักษณ์ จารุวัฒน์. (2560). การตลาด 4.0 แปลจาก Marketing 4.0. เนชั่นบุ๊คส์.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2557). Digital Marketing: Concept & Case Study. ไอดีซี พรีเมียร์ บจก.

ณิชาภา ศรีคุณารักษ์. (2565). การสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17495

ณิชารีย์ โสภา. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ HAPPY SUNDAY [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. Bu Research. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/4923

ธวัชชัย สุขสีดา และมนต์ ขอเจริญ. (2565). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal). วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(2), 63-74.

ธันยวิช วิเชียร์พันธ์. (2557). สื่อดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. พิมพ์วังอักษร.

ปิยะบุตร โกศลกิตติพงศ์. (2565). การศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อโครงการจัดสรร ของกลุ่มลูกค้าเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4670

ปีเตอร์ รักธรรม. (2558). สื่อสังคมและการสร้างคุณค่าทางธุรกิจให้กับองค์กรธุรกิจในประเทศไทย. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 37(145), 37-62.

ภัทรวดี เหรียญมณี. (2559). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ค่ายมวย (Boxing Gym) เพื่อการออกกำลังกาย ในเขตกรุงเทพมหานคร [ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. Bu Research. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2114

เหมือนดาว วาสุเทพรังสรรค์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อชาเขียวยี่ห้อโออิชิ และ อิชิตันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. TU Digital Collection. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:93519

Barnes, S. J. (2020). Information management research and practice in the post-COVID19 world. International Journal of Information Management, 55, 1-4. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2020.102175.

Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley&sons.

Darma, G. S., & Noviana, I. P. T. (2020). Exploring Digital Marketing Strategies during the New Normal Era in Enhancing the Use of Digital Payment. Jurnal Mantik, 4(3), 2257-2262.

ETDA. (2558). เผยผลสำรวจมูลค่า e-commerce ไทยปี 58. https://www.it24hrs.com/2015/etda-survey-e-commerce-2558/

Goworek, H., & McGoldrick, P. (2015). Retail marketing management. Pearson Education Limited.

Gruen, T. W., Osmonbekov, T., & Czaplewski, A. J. (2006). eWOM: The impact of customer-tocustomer online know-how exchange on customer value and loyalty. Journal of Business Research, 59(4), 449-456.

Heredia, J., Castillo-Vergara, M., Geldes, C., Gamarra, F. M. C., Flores, A., & Heredia, W. (2022). How do digital capabilities affect firm performance? The mediating role of technological capabilities in the “new normal”. Journal of Innovation & Knowledge, 7(2), 100171.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (12th ed.). Pearson Education Limited.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2006). Marketing management (12th ed.). Pearson Prentice Hall.

Kotler, P., Kartajaya, H. & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0. John Wiley & Sons Inc.

Kotler. (1997). Marketing Management.: Analysis planning implementation and control (5thed). Prentice Hall.

Litvin, S., Goldsmith, R. & Pan, B. (2008). Electronic word-of-mouth in hospitality and tourism management. Tourism Management, 29(3), 458-468.

Muhyiddin, M. (2020). Covid-19, New Normal, dan Perencanaan Pembangunan di Indonesia. Jurnal Perencanaan Pembangunan. The Indonesian Journal of Development Planning, 4(2), 240-252.

Nugraha, D. N. S., Komarasari, F., & Dewi, Y. A. (2022). Digital Marketing in Facing the New Normal Era: Case Study at the Micro Small and Medium Enterprises on Indonesian Chamber of Commerce & Industry. Review of International Geographical Education Online, 12(1), 659-666.

Park, D. H., Lee, J., & Han, I. (2007). The Effect of on-line consumer reviews on consumer purchasing intention: The moderating role of involvement. International Journal of Electronic Commerce, 11(4), 48-125.

Praphatsarang, V. & Ngamsutti, S. (2023). Relationship between Integrated Marketing Communication Strategy and Cosmetics Business Performance in Thailand. RICE Journal of Creative Entrepreneurship and Management, 4(3), 52-61.

Rivandi, R. (2021). Integrated Marketing Communication and Coffee Shop Consumer Purchase Decision in Surakara City. International Journal of Economics, Business and Accounting Research, 5(2), 214-221.

Thumbsupteam. (2016). WeLoveShopping ขึ้นแท่นผู้นำตลาดอีมาร์เก็ตเพลส พร้อมทุ่มทุน 900 ล้านบาทขยายแพลตฟอร์ม. http://thumbsup.in.th/2016/03/ascend-groupweloveshopping-emarketplace-leader/

Tibebe, G., & Ayenew, T. (2018) 'The Effectiveness of Integrated Marketing Communication for High Involvement Product Purchase Decision: In Case of University of Gondar Employees'. Pacific Business Review International, 11(4), 17-29.

We are CP (2563). โควิด-19 กับพฤติกรรม “New Normal” มาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ในวันนี้และตลอดไป. https://www.wearecp.com/new-normal-190563/

Zhen, Z., Yousaf, Z., Radulescu, M., & Yasir, M. (2021). Nexus of digital organizational culture, capabilities, organizational readiness, and innovation. Investigation of SMEs operating in the digital economy Sustainability, 13(2), 720.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30