กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ ในยุคการพลิกผันทางดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • อนพัทย์ พัฒนวงศ์วรัณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การปรับตัว , ความอยู่รอด , ผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ , ยุคการพลิกผันทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

การพลิกผันทางดิจิทัลเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจหรือการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยส่งผลให้ผู้ประกอบการเกิดการปรับตัว การเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทและได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ธุรกิจใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนำร่อง กลายเป็นธุรกิจที่สามารถแจ้งเกิดจากปัญหาหรือความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ที่สำคัญนวัตกรรมใหม่ ๆ ของธุรกิจเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม สามารถสร้างรายได้แบบก้าวกระโดดและสามารถเกิดการล่มสลายได้ ดังนั้น การพลิกผันทางดิจิทัล จึงเป็นทั้ง “โอกาส” และ “วิกฤต” ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและมองหาโอกาสของผู้ประกอบธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพในยุคการพลิกผันทางดิจิทัลจะต้องมีแนวคิดในการออกแบบกลยุทธ์เพื่อสร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืนให้แก่ธุรกิจซึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญได้แก่ 1) กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อการเป็น Disruptor 2) กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือ 3) กลยุทธ์การปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้ทันสมัยและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรม 4) กลยุทธ์การยกระดับความสามารถของคนในท้องถิ่น 5) กลยุทธ์การลดต้นทุน 6) กลยุทธ์เพิ่มการขาย และ 7) กลยุทธ์เจาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งกลยุทธ์ต่าง ๆ เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะช่วยสร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อสร้างความอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

References

เกศรา มัญชุศรี. (2560). SET Your Startup Business Guide. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

เกษรา ธัญยลักษณ์ภาคย์. (2560). Digital Transformation. สืบค้นจาก http://www.sena.co.th/articles/digital-trandformation/

ขวัญใจ เตชเสนสกุล. (2561). Disruption…ปรากฎการณ์ที่มากกว่าเรื่องเทคโนโลยี. สืบค้นจาก http://www.exim.go.th/cod/adn/49586_0.pdf.

คนึงนิจ อนุโรจน์. (2562). แนวทางการรับมือกับ Disruption. Royal Thai Air Force Medical Gazette, 65(1), 66-72.

จักรพันธ์ ศรีคุ้ม. (2561). ศักยภาพที่คาดหวังของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ขับเคลื่อนด้วยความสามารถของผู้ประกอบการ ความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ ลูกค้าที่คาดหวัง และการสนับสนุนทรัพยากร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(2), 1-14.

ณฤทธิ์ วงพงษ์ดี. (2560). SET your startup business guide: รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ธีทัต ตรีศิริโชติ และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). การประยุกต์ใช้หลักการคิดเชิงออกแบบกับธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่: รูปแบบและกรณีศึกษา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 295-308.

พงษ์ศักดิ์ ทวีไกร. (2561). สตาร์ทอัพ คืออะไรแล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่า Startup. สืบค้นจาก https://www.smartsme.co.th/content/101735

สัจจวัฒน์ จารึกศิลป์. (2564). การดำเนินธุรกิจผู้ประกอบการด้านกีฬาในยุคการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างพลิกผัน. วารสารสหศาสตร์, 21(1), 1-13.

Abdi, M. R., Hemmati, M., Zolfaghari, H., & Sabbaghian, A. (2022). The Impact of digital disruption on business models: A systematic literature review and research agenda. Sustainability, 14(3), 969.

Abu Bakar, A. R., Ahmad, S. Z., Wright, N. S., & Skoko, H. (2017). The propensity to business startup: evidence from Global Entrepreneurship Monitor (GEM) data in Saudi Arabia. Journal of Entrepreneurship in Emerging Economies, 9(7), 263-285.

Akbari, R., Hadaegh, A., & Jalali, S. A. (2020). A digital transformation reference model for smart city development. Journal of Urban Technology, 27(1), 77-98.

Brain, S. (2016). Introducing a maturity model to guide your digital transformation. Retrieved from https://www.briansolis.com/2016/07/linkedin-race-digital-darwinism-six-stages-digital-traformation/

Cheung, A. (2014). How a start to startup: Lecture 4 building product, talking to users, and growing. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=yP176MBG9Tk

Choudhary, A., & Saini, V. (2021). Customer-centric approach in business model innovation. Journal of Business Research, 126, 508-515.

Christensen, C. M., Raynor, M. E., & McDonald, R. (2015). What is disruptive innovation? Harvard Business Review, 93(12), 44-53.

Daft, R. L. (2013). Understanding the theory and design of organizations (11th ed.). Canada: South-Western, Cengage Learning.

Dinc, M. S., & Budic, S. (2016). The impact of personal attitude, subjective norm, and perceived behavioural control on entrepreneurial intentions of women. Eurasian Journal of Business and Economics, 9(17), 23-35.

Dru, J.M. (2015). The ways to new: 15 paths to disruptive innovation. Columbia University Press.

Hashim, Z. (2017). Differentiated Business World: The Role of Technology Startups in Driving the Digital Economy of Southeast Asia. Retrieved from https://www.techtalkthai.com/role-of-tech-startups-in-driving-seas-digital/

Heracleous, L., & Papachroni, A. (2019). The role of vision in organizational change: A literature review. Journal of Change Management, 19(2), 99-119.

Kim, S. W., & Joo, S.-J. (2021). Environmental uncertainty, strategic orientation, and quality management: A study of Korean SMEs. Sustainability, 13(4), 2214.

Lingel, J., & Naaman, M. (2017). Tech startups as agents of social change. Social Media + Society, 3(2), 1-12.

Shen, H., & Zhang, L. (2021). Digital transformation and its implications for business models. Journal of Business Research, 130, 508-516.

Singh, P., & Sushil. (2021). Work-life balance and employee retention: A study of ICT industry in India. Journal of Human Resource Management, 9(1), 19-33.

Suresh, S. (2022). The role of emerging technologies in business success. Journal of Business and Technology, 17(1), 1-10.

Wang, H., & Li, Y. (2021). Determinants of the survival of startups: A systematic literature review. Journal of Small Business Management, 59(4), 568-586.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30