อิทธิพลของการทำการตลาดแบบอาศัยบุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริงต่อความตั้งใจ ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสและทรูของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุชัญญา สายชนะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปัทมพร ภูมิพันธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การตลาดแบบอาศัยบุคคลที่มีชื่อเสียง , บุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริง , ความตั้งใจใช้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของบุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริงและอิทธิพลของการทำการตลาดแบบอาศัยบุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริงต่อความตั้งใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสและทรูของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสและทรู และต้องเป็นกลุ่มที่มีความรู้จักหรือคุ้นเคยกับบุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริงที่ทางผู้ให้บริการนำมาเป็นทูตตราสินค้าบนสื่อดิจิทัล จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของบุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริงโดยมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความดึงดูดใจ ความไว้วางใจ ความชำนาญเชี่ยวชาญ ความเคารพ และความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย โดยรวมมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.452 ถึง 0.714 และบุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริง ได้แก่ ความดึงดูดใจ ความเคารพ และความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสและทรูของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 68.3

References

โชติกา วิบูลย์ศิริวงศ์ และปฐมา สตะเวทิน. (2563). อิทธิพลของการโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านอินสตาแกรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์, 38(1), 27-38.

ณัทกิจพัฒน์ หอมวิจิตรกุล, ชาคริต กุลอิสริยาภรณ์, นภาพร ขันธนภา และชัยฤทธิ์ ทองรอด. (2560). ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากการรับรู้ค่าและความคุ้นเคยที่ส่งผ่านความเชื่อมั่นและยึดติดกับผลิตภัณฑ์เดิม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 70-80.

ธนากร ศรีพันธุ์, สุวรรณ เดชน้อย และปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี. (2565). การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีต่อการโฆษณาที่ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นพรีเซนเตอร์ในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(3), 269-285.

พระปลัดวีระศักดิ์ ปุกคำ. (2566). การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทางสังคมหลังเกิดโรคระบาดโควิด 19. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), 93-109.

ภัสราพร รัตนชาติ. (2557). ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียงและกลยุทธ์การค้าปลีกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(88), 385-407.

ภาณุมาศ แสนหล้า. (2563). การทำนายความตั้งใจซื้อผักอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดชลบุรีตามกรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 104-127.

ภาวิณี อุปถานา. (2565). 9 เรื่องควรรู้ กับ Metaverse โลกเสมือนแห่งอนาคต. สืบค้นจาก https://www.nectec.or.th/news/news

สุมามาลย์ ปานคำ และภัคจิรา ชื่นโพธิ์กลาง. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านค้าคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษย์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1120-1136.

สุรพล บุญลือ. (2565). เมตาเวิร์สสำหรับการศึกษา: การเชื่อมต่อระหว่างจักรวาลนฤมิตกับโลกความจริงของการเรียนรู้ ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบดื่มด่ำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 11(1), 9-16.

An, J., Kang, J., & Kim, J. (2020). Influencer authenticity, expertise, and followers' purchase intentions: Focusing on the beauty influencer on Instagram. Social Media + Society, 6(4), 2056305120965457.

Arsenyan, J., & Mirowska, A. (2021). Almost human? A comparative case study on the social media presence of virtual influencers. International Journal of Human-Computer Studies, 155, 102694.

Barnes, S. J., & Mattsson, J. (2020). A framework of virtual influencer-brand alliance effectiveness: A study of audience perceptions and brand responses. Journal of Interactive Advertising, 20(2), 94-114.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3d ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

Digimusketeers. (2021). ถอดบทเรียน Influencer Marketing กับการใช้ Virtual Influencer. สืบค้นจาก https://digimusketeers.co.th/blogs/digi-case/virtual-influencer-marketing

Elsey, V., Bullingham, R., & Rettberg, J. W. (2020). Virtual intimacies? An exploration of the role of social media in young people's romantic relationships. Media International Australia, 177(1), 22-38.

Guthrie, S. (2020). Virtual influencers: More human than humans. In Influencer Marketing (pp. 271-285). Abington-on-Thames: Routledge.

Hsu, C. L., Chang, K. C., & Chen, M. C. (2018). The influence of social media: High school students’ perceptions of Facebook for learning. Computers & Education, 125, 1-11.

Jhawar, A., Kumar, P., & Varshney, S. (2023). The emergence of virtual influencers: a shift in the influencer marketing paradigm. Young Consumers, 24(4), 468-484.

Khamis, S., Ang, L., & Welling, R. (2017). Self-branding, ‘micro-celebrity’and the rise of Social Media Influencers. Celebrity Studies, 8(2), 191-208.

Kim, D., Kim, E., & Shoenberger, H. (2023). The next hype in social media advertising: Examining virtual influencers' brand endorsement effectiveness. Frontiers in Psychology, 14, 485.

Market Think. (2021). AIS คว้า น้องไอ-ไอรีน Virtual Influencer คนแรกของไทย เป็น Brand Ambassador. สืบค้นจาก https://www.marketthink.co/19528

Market Think. (2021). True5G สยายปีกร่วมวงแบรนด์ระดับโลก เปิดตัว IMMA - Metaversified Brand Ambassador ยกระดับความเป็น World Class แบรนด์. สืบค้นจาก https://www.marketthink.co/21084

Masuda, H., Han, S. H., & Lee, J. (2022). Impacts of influencer attributes on purchase intentions in social media influencer marketing: Mediating roles of characterizations. Technological Forecasting and Social Change, 174, 121246.

Petronio, M., & Amicucci, L. (2021). Social media influencers: Motivations and typologies in the fashion industry. Corporate Communications: An International Journal, 26(1), 122-143.

Puccinelli, N. M., Goodstein, R. C., Grewal, D., Price, R., Raghubir, P., & Stewart, D. (2013). Customer experience management in retailing: Understanding the buying process. Journal of Retailing, 89(2), 156-174.

Tavassoli, N. T., Feizollahi, S. M. R., & Mazloum, S. R. (2021). Virtual influencers: The role of authenticity, self-disclosure, and parasocial interaction in building trust and engagement. Journal of Business Research, 132, 737-748.

Tech Talk Thai. (2021). สรุปสั้นๆ Metaverse: อนาคตของ Facebook ภายใต้ชื่อใหม่ “Meta”. สืบค้นจาก https://www.techtalkthai.com/summary-of-metaverse-from-facebook-meta/

Thematter. (2021). หลีกทางให้ Virtual Influencer ได้เดิน รู้จัก 8 อินฟลูเอนเซอร์เสมือนแบบใหม่แบบสับ. สืบค้นจาก https://thematter.co/social/8-virtual-influencer/156363

Wang, D., Li, J., Wang, Y., & Zhao, Y. (2017). The impact of personalized e-mail advertising. Electronic Commerce Research and Applications, 26, 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17

How to Cite

สายชนะ ส., & ภูมิพันธ์ ป. . (2023). อิทธิพลของการทำการตลาดแบบอาศัยบุคคลที่มีชื่อเสียงเสมือนจริงต่อความตั้งใจ ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสและทรูของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 5(2), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/266150