แนวทางการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตามวิถีชนบทของบ้านถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐอร มหาทำนุโชค คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยว, อนุรักษ์ธรรมชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามวิถีชนบทของบ้านถ้ำรงค์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามวิถีชนบทของบ้านถ้ำรงค์ และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามวิถีชนบทของบ้านถ้ำรงค์  วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่บ้านถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบโดยบังเอิญ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า ในวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่งเพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว พบว่า รูปแบบท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นรูปแบบกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจเป็นลำดับที่หนึ่ง รองลงมาเป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติตามท้องถิ่นเป็นลำดับสองและท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นลำดับสาม ท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (อันดับ 4) ท่องเที่ยงเชิงนิเวศทางทะเล (อันดับ 5) ท่องเที่ยวเชิงกีฬา (อันดับ 6) ท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (อันดับ 7) และท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา (อันดับ 8) ในวัตถุประสงค์ข้อที่สองเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อด้านการให้บริการด้านการท่องเที่ยว สะดวกในการเข้าถึงสถานที่ ปลอดภัยและกิจกรรมน่าสนใจในระดับมาก ในวัตถุประสงค์ข้อที่สามเพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมชอบเดินทางมาเพื่อพักผ่อนโดยส่วนมากจะมาเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ มีรสนิยมในการท่องเที่ยวแบบชอบหาประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและชื่นชอบกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ

References

ธนะวิทย์ เพียรดี และ วนิดา อ่อนละมัย. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีความรับผิดชอบ กรณีศึกษาบ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตังจังหวัดตรัง. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 24-38.

ธนากร ทองธรรมสิริ และ โอชัญญา บัวธรรม. (2564). แนวทางสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(1), 21-34.

นิตยา งามยิ่งยง และ ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนชุมชนบริเวณริมฝั่งคลองดำเนินสะดวก ในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 149-166.

นุชนารถ กฤษณรมย์ และ ปรีดา นัคเร. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว กรณี อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(1), 128-140.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 05. (2564). การท่องเที่ยว. สืบค้นจาก http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2021/01/06_NS_05.pdf

เพียงใจ คงพันธ์ และ ภัทราวรรณ วังบุญคง. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาศูนย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 15-29.

ภัครดา ฉายอรุณ. (2564). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 119-131.

รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2557). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 5(1), 29-41.

วาสนา สุวรรณวิจิตร. (2564). รูปแบบการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(2), 63-73.

ศิริพร บุตรสนม. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยว ความพึงพอใจและการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สะพานรักษ์แสม จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 167-178.

อรอนงค์ เฉียบแหลม และ จันทิรา รัตนรัตน์. (2563). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาเยือนชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเสือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(4), 42-54.

Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. John Wiley Sons; Third Edition.

Shahrivar, R. B. (2012). Factors that influence tourist satisfaction. Journal of Travel and Tourism Research, 12(1), 61-79.

Wolman, B. B. (1978). Dictionary of behavioral science. Boston, MA.: PWS-Kent.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31