ทักษะผู้ฝึกงานเทคนิคต่างชาติและวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น ส่งต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทย

ผู้แต่ง

  • พีรมน มีขันหมาก คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  • บุญญาดา นาสมบูรณ์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

ทักษะผู้ฝึกงานเทคนิคต่างชาติ , วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น , คุณภาพงาน , ผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะผู้ฝึกงานเทคนิคต่างชาติส่งผลต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทย และ 2) วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทย ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากหัวหน้างานชาวญี่ปุ่น 559 คน ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

 ผลการวิจัยพบว่า ทักษะผู้ฝึกงานเทคนิคต่างชาติ ด้านภาษาญี่ปุ่นเพื่อการทำงาน ด้านความรู้พื้นฐานวิชาการ ด้านความร่าเริง ด้านการสื่อสาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ด้านความไว้วางใจและน่าเชื่อถือ ด้านความกระตือรือร้น และด้านสามัญสำนึกที่ดี ส่งผลต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทย โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถอธิบายคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยได้ 0.0805 และพบว่า วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น ด้านการตรงต่อเวลา ด้านความรู้ในวัฒนธรรมและกฎระเบียบการใช้ชีวิต ด้านการทักทาย และการโฮเรนโซ ส่งผลต่อคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทย โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถอธิบายคุณภาพงานของผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยได้ 0.0805 ดังนั้นผู้ฝึกงานเทคนิคชาวไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาทักษะภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสาร ความรู้พื้นฐาน และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีเพื่อให้ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง สำหรับวัฒนธรรมการทำงานควรปลูกฝังการตรงต่อเวลาและเสริมความรู้ในการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น
เพื่อลดปัญหาความต่างทางวัฒนธรรมและปลูกฝังการทำงานด้วยหลักโฮเรนโซ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

กำพล อดิเรกสมบัติ. (2563). 5 สัญญาณบ่งชี้จากเวียดนามที่ไทยต้องเร่งยกระดับความสามารถในการแข่งขัน. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/business/economics/1996563

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2530). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ตรีกาล เมฆบริบูรณ์, และ ณกมล จันทร์สม. (2564). วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานชาวไทยในบริษัทญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 251-266.

ปกรณ์ โปรยรุ่งโรจน์, และ ณกมล จันทร์สม. (2564). ปัจจัยด้านจรณทักษะ (Soft Skill) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(42), 117-127.

ประกาศคณะอนุกรรมการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในญี่ปุ่น. (2563). การรับสมัครผู้ฝึกงานเทคนิคไทยไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่นผ่านองค์กร IM JAPAN เพศหญิงและเพศชาย. สืบค้นจาก https://www.pakkretcity.go.th/images/pdf/news2859.pdf

ปราณี หมื่นมะเริง. (2562). วัฒนธรรมการทำงานของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม 304 จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วนิดา เจริญแก้ว, และ เบญจพร โมกขะเวส. (2564). ความรู้และทักษะวิชาชีพของผู้ทำบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีในมุมมองของผู้ประกอบการบริษัทต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 1-14.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์: เน้นสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. (2563). พินิจเศรษฐกิจการเมือง: ปัญหาขาดแคลนแรงงานในญี่ปุ่น ส่งสัญญาณอะไรถึงไทย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/02/japan-labor-issues/

Becker, B. A., & Huselid, M. A. (1998). High Performance Work Systems and Firm Performance: A Synthesis of Research and Managerial Applications. Research in Personnel and Human Resources Management, 16, 53-101.

Bernardin, H. J., & Russell, J. E. (1993). Human Resource Management: An Experiential Approach. New York: McGraw-Hill.

Bernardin, H. J., & Russell, J. E. (2013). Human Resource Management (6th ed.). Singapore: McGrawHill.

DISCO Inc. (2020). Company Survey on Recruitment of Foreign Students Advanced Foreign Human Resources. Retrieved from https://www.disc.co.jp/press_release/8191

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1995). Multivariate data analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Hanafi, H. M., & Ibrahim, S. B. (2018). Impact of Employee Skills on Service Performance. International Journal of Science and Research, 7(12), 587- 598.

Hutapea, P., & Thoha, N. (2008). The Practice of Complex Adaptive System (CAS) in Indonesia and Its Implication towards Organization Management. Jakarta: Gramedia Pustaka Utama.

Kili, & Siengthai, S. (2009). Japanese Culture and Management: Working with Japanese Company in Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.

Tiwari, S., Jain, V., & Anis, S. (2022). Variation of Political Skill Dimensions Across Different Industries. Gurgaon: Vision-The Journal of Business Perspective.

Wright, P. M., Gardner, T. M., & Moynihan, L. M. (2003). The impact of HR practices on the performance of business units. Human Resource Management Journal, 13(3), 21-36.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30