รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ นามประดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • วริศนันท์ เดชปานประสงค์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • ธีรพนธ์ คงนาวัง คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา , ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล , ผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อสร้าง ตรวจสอบและประเมินรูปแบบเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตารางการวิเคราะห์เนื้อหา แบบบันทึกการสัมมนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามครู แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การมีวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล 2) การเป็นผู้ใช้งานดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว 3) ความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ 4) ความเข้าใจในความรู้และทักษะความสามารถของคนในองค์กร และ 5) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล ผลการศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบด้านความเข้าใจในความรู้และทักษะความสามารถของคนในองค์กรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด ผลการสร้างรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ มี 5 ส่วน คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามองค์ประกอบ 4) แนวทางการประเมินความสำเร็จของรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการตรวจสอบและประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่สร้างขึ้นโดยภาพรวมมีความถูกต้อง สอดคล้อง เหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ชัยศักดิ์ ศุกระกาญจน์. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การในยุค Thailand 4.0. สืบค้นจาก https://spark.adobe.com/page/YLGxuPO3qkdtE/

ฐิติวัจน์ พัฒน์เจริญ. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ของทหารกองประจำการสังกัดกองทัพบก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560). ผู้นำในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก http://www.dharmniti.co.th/ผู้นำในยุค-digital-economy

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. สืบค้นจาก http://today.line.me/th/pc/article/leadership+in+Digital+Era

ปอ ไกรวิญญ์. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นจาก http://www.mict.go.th

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอน 123 ก หน้า 16-21 (19 ธันวาคม 2545).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน 45 ก หน้า 1-3 (22 กรกฎาคม 2553).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 74 ก หน้า 1-19 (19 สิงหาคม 2542).

ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มนตรี.

มาณี ฉัตรชัยวงศ์. (2557). รูปแบบการบริหารโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สมศรี สุ่มมาตย์. (2557). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

Bardo, J. W., & Hartman, J. J. (1982). Urban sociology: A systematic introduction. New York: F.E. Peacock.

Bertalanffy, L. V. (1968). General system theory: Foundations, development, application. New York: George Braziller.

Carter, V. G. (1973). Dictionary of education (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Elliott, T. (2017). Digital leadership: A six-step framework for transformation. Retrieved from http://www.digitalistmag.com/author/telliott

Keeves, P. J. (1988) Education Research, methodology and measurement: an international handbook. Oxford: Pergamon Press.

Madaus, G. F., Scriven, M., & Stufflebean, D. L. (1983). Evaluation models. Boston: Kluwer-Nijhoff.

McREL International. (2010). National Educational Technology Standards for Administrators (NETS- A). Retrieved from https://www.mcrel.org/educational-technology-standards-foradministrators-netsa/

Narbona, J. (2016). Digital leadership, Twitter and Pope Francis. Church, Communication and Culture, 1(1), 109-90.

Ross, M. (2014). Digital Leardership? Or Leadership in a Digital World?. Retrieved from http://www.business2community.com

Sheninger, E. (2014). Pillars of digital leadership. International Center for Leadership in Education, 1(4).

Tiger. (2020). ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลคืออะไร (Digital Leadership). Retrieved from https://thaiwinner.com/digital-leadership/

Willer, D. (1986). Scientific sociology: Theory and method. Englewood Cliff, N.J.: Prentice-Hall.

Yukl, G., & Mahsud, R. (2010). Why flexible and adaptive leadership is essential. Consulting Psychology Journal: Research and Practice, 62(2), 81-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30