ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ต ในกรุงเทพมหานคร: เปรียบเทียบก่อนและระหว่างสถานการณ์โควิด 19

ผู้แต่ง

  • สินิทรา สุขสวัสดิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจในงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, พนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ต, สถานการณ์โควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานครก่อนและระหว่างสถานการณ์โควิด 19 และเพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานครก่อนและระหว่างสถานการณ์โควิด 19 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน และใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสำหรับทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน

ผลการวิจัยพบว่าระดับความพึงพอใจในงานของพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานครก่อน และระหว่างสถานการณ์โควิด 19 ในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านโอกาสความก้าวหน้าอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านค่าตอบแทนที่ได้รับมีความพึงพอใจในงานระหว่างสถานการณ์โควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกับระดับความผูกพันต่อองค์การก่อนและระหว่างสถานการณ์โควิด 19 พบว่าพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตมีระดับความผูกพันต่อองค์การทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการแสดงตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ด้านการมีส่วนร่วมในองค์การ และด้านความภักดีต่อองค์การในระดับมาก และเมื่อทำการทดสอบสมมติฐานพบว่าพนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานครมีระดับความพึงพอใจในงานและระดับความผูกพันต่อองค์การระหว่างก่อนและสถานการณ์โควิด 19 ทั้งในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ธมยันตี ประยูรพันธ์. (2561). การทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของพนักงานองค์กรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 55-73.

บุญชัย วิรชัย และสมบูรณ์ สารพัด. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 12(1), 40-62.

ปณิตา นิรมล และนันธิดา อนันตชัย (2563) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(1), 27-54.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2562). แนวทางการพัฒนาความผูกพันของพนักงานในองค์การ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 493-504.

พรมิตร กุลกาลยืนยง, วาสนา ศรบุญทอง และ กรรณิการ์ เซ่งเข็ม. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ: กรณีศึกษาสถานประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8(2), 215-229.

พรรณอร พัฒนาการค้า. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(3), 183-204.

ไพรัช ศิลาศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความจงรักภักดีและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทนากาชิมา รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

ภูมิพัฒน์ สิทธิบัญชากร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ ความพึงพอใจในงานและการตั้งใจลาออกโดยมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคเป็นตัวแปรกำกับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

รินลณี วงศ์ยะรา และณกมล จันทร์สม (2564) เรื่องความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่. ใน รายงานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564 (น. 1218-1228). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรรณวิมล อัมรินทร์นุเคราะห์ ลดาวัลย์ ยมจินดา และกรรณิการ์ เฉกแสงรัตน์. (2564). ปัจจัยความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(1), 76-94.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์, นนทวัฒน์ สุขผล และณัฐพร วิรุฬหการุญ. (2561). ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 104-120.

Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The Measure and Antecedents of Affective Continuance and Normative Commitment to the Organizational Commitment. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.

Anis, E., Syamsul, M., & Muzakki. (2019). Job Satisfaction and Organizational Commitment Effect in the Transformational Leadership towards Employee Performance. European Research on Management and Business Economics, 25(3), 144-150.

Buchanan, B. (1974). Building Organizational commitment: The Socialization of Managers in Work Organizational. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Dunnette, M. (1976). The Handbook of Industrial and Organizational Psychology. Rand McNally College Pub. Co.

Gilmer, B.V. (1971). Applied Psychology. New York: McGraw-Hill Book Company.

Herzberg, F. (1974). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Kelesi, M., Fasoi, G., Papageorgiou, D., Tsaras, K., Kaba, E., Tavropoulou, A., Tzannis, P., & Vlachou, E. (2016). An Investigation of Factors Determining the Level of Job Satisfaction among Nurses in Six General Public Hospitals in Greece. International Journal of Medical Science and Clinical Inventions, 3(3), 1705-1715.

Luthans, F., & Youssef, C. M. (2007). Emerging Positive Organizational Behavior. Journal of Management, 33(3), 321-349.

Mohite, M. & Kulkarni, D. (2019). Job Satisfaction Factors of Employee in Virtual Workplace: Review. International Journal of Trend in Scientific Research and Development, Special Issue. 38-42.

Salleh, S. M., Zahari, M., Ahmad, F. H. M., Aziz, N. U. A., & Majid, M. A. (2015). Exploring the Relationship between Interpersonal Trust and Job Satisfaction on Organizational Commitment. Journal of Basic Applied Scientific Research, 5(1), 85-90.

Smith, S. A., Patmos, A., & Pitts, M. J. (2018). Communicating and Teleworking: A Study of Communication Channel Satisfaction, Personality, and Job Satisfaction for Teleworking Employees. International Journal of Business Communication, 55(1), 44-68.

Steers, R. M. (1991). Introduction to Organization Behavior. New York: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30