คุณภาพชีวิตและสภาพการทำงานของแรงงานรับเหมาช่วง ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
แรงงานรับเหมาช่วง, คุณภาพชีวิต, สภาพการทำงาน, นิคมอุตสาหกรรมบทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและสภาพการทำงานของแรงงานรับเหมาช่วง ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานรับเหมาช่วงในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม โดยใช้วิธีการศึกษาแบบดำเนินการควบคู่กันไป สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บรวบรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากแรงงานรับเหมาช่วงในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จำนวน 771 คน ใช้การสุ่มแบบกำหนดโควต้า จังหวัดละ 257 คน ส่วนของการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์แรงงานรับเหมาช่วง จำนวน 3 คน และผู้ปฏิบัติงานทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 3 คน
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของแรงงานรับเหมาช่วงในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในเกณฑ์มีคุณภาพชีวิตกลาง ๆ และแรงงานรับเหมาช่วงมีสภาพการทำงานที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ยังไม่ได้ดำเนินการมากกว่าร้อยละ 10 ที่ผู้ประกอบการต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ได้แก่ สิทธิลาพักผ่อนประจำปี การลาพักผ่อนโดยรับค่าจ้าง ลากิจ ลาป่วย และลาคลอดโดยได้รับค่าจ้าง ความเท่าเทียมในการรับค่าจ้างและผลประโยชน์ การฝึกอบรมและการพัฒนาความรู้ การปรับสถานภาพการจ้าง ความเสี่ยงในสถานที่ทำงานในการเกิดโรค ความเสี่ยงของสถานที่ทำงานในการเกิดอุบัติเหตุ สำหรับแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานรับเหมาช่วงในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก บริษัทผู้ว่าจ้างต้องให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับแรงงานรับเหมาช่วง และการสร้างความเท่าเทียมในการทำงาน
References
ณัฐภรณ์ อรุณโณ. (2562). กระบวนการขูดรีดในระบบการจ้างแรงงานเหมาช่วง: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์ในจังหวัดชลบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 7(1), 21-37.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ (2556). ข้อคิดการบริหารพนักงาน Outsource. สืบค้นจาก http://www.hramata.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=1429785
พงเทพ สันติกุล. (2561). การบริหารความขัดแย้งในประเด็นแรงงานทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พจนา วลัย. (2559, 14 กรกฎาคม). ความเสียหายจากการจ้างงานเหมาค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม. ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2016/07/66884
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541. (2541, 20 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1-48.
รชตสุดา โปษกะบุตร. (2552) ผู้หญิงกับการเป็นแรงงานรับเหมาช่วง :กรณีศึกษาพนักงานแรงงานภายนอกหญิง ฝ่ายครัวการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. (2556). ลูกจ้างเหมาค่าแรง สะท้อนคุณภาพชีวิตแรงงานไทย. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นจาก http://tdri.or.th/tdri-insight/subcontract-tdri/
สำนักพิมพ์ธรรมนิติ. (2557, 20 กันยายน). จ้างเหมาแรงงาน ระเบิดเวลาลูกใหม่ของผู้ประกอบกิจการ. สืบค้นจาก http://dlo.tan.cloud/business-articles/661
สุภาพพงศ์ เหล่าแสนสุข. (2559). การยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัย ธนาคารแห่งประเทศไทย. รายงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 4th International Conference on Magsaysay Awardees: Good Governance and Transformative Leadership in Asia (น. 594-609). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรัสวดี เจียมสุวรรณ. (2558). บทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจากการเลือกปฏิบัติ: มาตรา 11/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบบัที่ 2) พ.ศ..2551. วารสารแรงงานสัมพันธ์ฉบับพัฒนามาตรฐานแรงงาน, 52(1), 13-19.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก. ชุดย่อฉบับภาษาไทย. เชียงใหม่ : โรงพยาบาลสวนปรุง.
อังคณา สุขสวัสดิ์ และ วรรณภา ลือกิตินันท์. (2560). อิทธิพลของปัจจัยองค์กรที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเท่าเทียม สำหรับพนักงานรับเหมาค่าแรงตามทัศนะของนักจัดการทรัพยากรมนุษย์ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. อินทนิลทักษิณสาร, 12(2), 89-112.
อุทุมพร พลางกูร. (2555). การขาดแคลนแรงงานไทย. สืบค้นจากhttp://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/57/file_1343115661.pdf
Creswell, J. W. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. London: Sage Publications.
OECD. (2013). How's Life? 2013: Measuring Well-Being. OECD Publishing.
UNESCO. (1980). Evaluation the Quality of Life in Belgium. Social Indicators Research, 8, 312.
WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): Position Paper from The World Health Organization. Social Sciences Medicine, 41(10), 1403 - 1409.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น