การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาผ้าคราม จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์การพัฒนา, ผ้าคราม, สกลนครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของผ้าครามจังหวัดสกลนคร 2) วิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับผ้าคราม จังหวัดสกลนคร และ 3) ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาผ้าครามจังหวัดสกลนคร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเอกสาร กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการผ้าครามจังหวัดสกลนคร
ผลการศึกษาพบว่า ผ้าครามจังหวัดสกลนคร มีจุดแข็งคือ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จุดอ่อนคือ ข้อจำกัดด้านวัตถุดิบ ระยะเวลาการผลิต โอกาสคือ นโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) และอุปสรรคคือ ไม่มีตลาดหรือสถานที่จัดจำหน่ายรองรับที่แน่นอน และพบว่าการเติบโตของผ้าครามนั้นเป็นผลมาจากนโยบายระดับประเทศถึงระดับท้องถิ่นมีการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน นำนโยบายลงสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับมาตรฐาน
ผ้าครามในพื้นที่สกลนคร จากสภาพปัญหาของผ้าครามจึงได้เสนอแผนแม่บทยุทธศาสตร์การพัฒนาผ้าคราม จังหวัดสกลนคร ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี เน้นวิสัยทัศน์ “สกลนครเมืองแห่งครามธรรมชาติ” ส่วนระยะกลาง 1-5 ปี เน้น “สกลนครเมืองแห่งครามธรรมชาติ สร้างสรรค์งานฝีมือแฟชั่น บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น” และระยะยาว 5 ปีขึ้นไป คือ “สกลนครเมืองแห่งครามธรรมชาติสู่สากลอย่างยั่งยืน”
References
นันทกาญจน์ เกิดมาลัย, ชนินทร์ วะสีนนท์, ละมัย ร่มเย็น และ ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2561). สภาพการบริหารการพัฒนาและปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหารปกครอง, 7(2), 291-313.
ยงยุทธ สีสัตย์ซื่อ. (ม.ป.ป.). การพัฒนาสินค้าผ้าครามย้อมสีธรรมชาติสกลนคร เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน (Sakonnakhon: City of Kram) ของกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (สกลนคร มุกดาหาร นครพนม). สืบค้นจาก http://wiki.ocsc.go.th/_media/99_2_009.pdf.
วรวุธ ลีลานภาศักดิ์ รุจิกาญจน์ สานนท์และสุภัทริภา ขันทจร. (2563). การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 40–56.
สำนักงานจังหวัดสกลนคร. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www.sakonnakhon.go.th/officeprovince/plan/plan/plan.php.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร. (ม.ป.ป.). OTOP โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี สกลนคร. สืบค้นจากhttps://www.iotopsakon.com/about/?fbclid=IwAR3VgK1PKkv1bKFk_pCprBrNZYRHMPxEgk4QWwH1uSCc3oOebytIZoApppg.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) หน้า 1-71. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF.
สุมิตรา ศรีวิบูลย์ และรสชงพร โกมลเสวิน. (2561). เครื่องหมายรับรองคุณภาพ: โอกาสทางการตลาดสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารนักบริหาร, 38(1), 11-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น