สมรรถนะด้านการตลาดที่จำเป็นของพนักงานการตลาดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การตลาด, พนักงานการตลาด, สมรรถนะทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของพนักงานการตลาดที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) สมรรถนะด้านการตลาดของพนักงานการตลาดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) ข้อมูลความต้องการเข้ารับการฝึกอบรมในการพัฒนาสมรรถนะพนักงานการตลาดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าการกระจายของข้อมูล และการทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 290 คน (ร้อยละ 58) อายุ 21-30 ปี 263 คน (ร้อยละ 52.6) ด้านการศึกษาปริญญาตรีสูงที่สุดจำนวน 285 คน (ร้อยละ 57.0) ด้านรายได้ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท จำนวน 216 คน (ร้อยละ 43.2) สถานภาพโสดจำนวน 308 คน (ร้อยละ 61.1) ด้านประสบการณ์ในการทำงานจนถึงปัจจุบัน พบว่าน้อยกว่า 5 ปี จำนวน 280 คน (ร้อยละ 56) ประเด็นประสบการณ์ในการทำงาน ด้านการตลาดและการขายพบว่าน้อยกว่า 2 ปี จำนวน 148 คน (ร้อยละ 29.6) สำหรับด้านตำแหน่งในสายงานการปฏิบัติการมากที่สุดคือพนักงานระดับต้น จำนวน 189 คน (ร้อยละ 37.8) และพบว่าสมรรถนะ ด้านการตลาดของพนักงานการตลาดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอันดับแรก คือ ด้านคุณลักษณะ 3.86 (S.D. = 0.547) รองมาคือด้านความรู้ 3.77 (S.D. = 0.954) และด้านทักษะ 3.64 (S.D. = 0.515)
References
กิตติทัช เขียวฉะอ้อน และธีรวัฒน์ จันทึก. (2560). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 355-370.
ชลิดา คงเมือง. (2548). ศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ชูชัย สมิทธิไกร (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: แอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ดุสิต ขาวเหลือง. (2554). การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1), 18-32.
ธนันธร มหาพรประจักษ์. (2563). ปรับธุรกิจให้อยู่รอดในยุค New Normal. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_19Oct2020.aspx
พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
วรรณพร แสงพาณิชย์. (2552). สมรรถนะที่ต้องการและที่เป็นของบุคลากรในเต๋า การ์เด้นท์ เฮลท์ สปา แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2564-2566. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-summary-outlook-2021-2023
Hoge, M. A., Tondora, J., & Marrelli, A. F. (2005). The fundamentals of workforce competency: Implications for behavioral health. Administration and Policy in Mental Health and Mental Health Services Research, 32(5), 509-531.
Harisson, R., & Kesslers, J. (2004). Human resource development in knowledge beconomy. Basingstoke: Palgrave-Macmillan.
John W. Best. (1959). Research in Education (2nd ed.). Boston: Allyn and Bacon.
P. Nick Blanchard & James W. Thacker. (2007). Effective training: system, strategies, and practices (3rd ed). New Jersey: Pearson Education International.
Rylatt, A. & Lohan, K. (1995). Creating Training Miracles. Sydney: Prentice Hall.
Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competency at Work: Models for Superior Competencies. New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น