อิทธิพลของคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีบริหารกับศักยภาพการจัดการ ห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน ของบริษัทแปรรูปมันสำปะหลังในประเทศไทย
คำสำคัญ:
คุณภาพสารสนเทศทางบัญชีบริหาร, ศักยภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทาน, ความได้เปรียบทางการแข่งขันบทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีบริหารที่มีต่อศักยภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานของบริษัทแปรรูปมันสำปะหลัง 2) ศึกษาอิทธิพลของศักยภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของบริษัทแปรรูปมันสำปะหลัง และ 3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีบริหารที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของบริษัทแปรรูปมันสำปะหลังในประเทศไทย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารบริษัทแปรรูปมันสำปะหลังจำนวน 214 บริษัท โดยใช้แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีบริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อศักยภาพการห่วงโซ่อุปทานด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้านบูรณาการการผลิต ด้านการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพและด้านทันต่อเวลาในการจัดส่ง นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพห่วงโซ่อุปทานด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้านบูรณาการการผลิต ด้านการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ ด้านทันต่อเวลาในการจัดส่งมีอิทธิพลทางบวกต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน และคุณภาพสารสนเทศทางบัญชีบริหารมีอิทธิพลทางบวกต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน ซึ่งข้อค้นพบที่เกิดขึ้นสามารถนำไปเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ให้กับบริษัทแปรรูปมันสำปะหลังนำไปประยุกต์ให้เกิดความยั่งยืนทางการแข่งขันได้
References
กระทรวงพาณิชย์. (2563). ข้อมูลสถิติ. สืบค้นจาก https://www.moc.go.th/index.php/cassava-service-all/category/42-119.html
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. (2563). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). ตาก: ประสิทธิ์ดีไซน์.
ชัยวัช โซวเจริญสุข. (2562). อุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-64, Krungsri Research. สืบค้นจาก https://km.raot.co.th.
ชาญชัย พรมมิ และสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2558). โมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการโซ่อุปทานและพันธมิตรทางการค้าต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 12(2), 35-53.
นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรม LISREL สำหรับภาคตัดขวาง. กรุงเทพฯ.
ปริญ วีระพงษ์, ธรินี มณีศรี และนิลุบล ศิวบวรวัฒนา. (2560). การพัฒนาตัวแบบการจัดการคงวามต่อเนื่องโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. Veridian E-Journal, 10(3), 752-768.
วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2560). สารสนเทศทางบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วี เจ พริ้นติ้ง.
ศรายุทธ ตรัยศิลานันท์ และสุนิติยา เถื่อนนาดี. (2556). ความสัมพันธ์ห่วงโซ่อุปทานระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบกับผู้ซื้อในอุตสาหกรรมอาหารจังหวัดนครราชสีมา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 7(1), 69-88.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). มันสำปะหลังโรงงาน: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ปี 2562. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/casava62(1).pdf
สิริรัตน์ พึ่งชมพู, กมลชนก ฤทธิเดช และธนิการต์ ไชยโห๊ะ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโซ่อุปทานความร่วมมือ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็งในภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(ฉบับพิเศษ), 184-192.
Anatan, L. (2014). Factors Influencing Supply Chain Competitive Advantage and Performance. International Journal of Business and Information, 9(3), 311-334.
Conbach, L.J. (1946). Response sets and test validity. Educational and Psychological Measurement, 6, 475–494.
Council of Supply Chain Management Professionals. (2013). 24th Annual State of Logistics Report: Is This the New Normal? Oak Brook, IL: Council of Supply Chain Management Professionals.
Ditkaew, K. (2018). Application of Managerial Accounting Information to Land Reform Management for Sustainable Agriculture. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 7(2), 174-188.
Ditkaew, K. (2019). Managerial Accounting Information Competencies of Sugarcane Planting in Thailand. Asian Administration and Management Review, 2(1), 135-151.
Elaoud, A. & Jarboui, A. (2017). Auditor Specialization, Accounting Information Quality and Investment Efficiency. Research in International Business and Finance, 42, 616-629.
Gunasekaran, A., Subramanian, N. & Papadopoulos, T. (2017). Information Technology for Competitive Advantage within Logistics and Supply Chains: A Review. Transportation Research Part E, 99, 14-33.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis
(7th ed). Prentice Hall.
Jie, F., Parton, Kevin A. & Cox, Rodney J. (2013). Linking Supply Chain Practices to Competitive Advantage an Example from Australian Agribusiness. British Food Journal, 115(7), 1003-1024.
Kalinzi, C. (2016). Outsourcing (Logistics) Services and Supply Chain Efficiency – A Critical Review of Outsourcing Function in Mukwano Group of Companies. Journal of Outsourcing & Organizational Information Management, 2016(2016), 1-22.
Khaksar, E., Abbasnejad, T., Esmaeili A. & TamoŠaitiené, J. (2015). The Effect of Green Supply Chain Management Practices on Environment Performance and Competitive Advantage: A Case Study of The Cement Industry. Technology and Economic Development of Economy, Article in Press, 1-17.
Kocoglu, I., Imamoglu, S.Z. & Ince, H. (2011). Inter-organizational Relationships in Enhancing Information Sharing: The Role of Trust and Commitment. The Business Review, Cambridge, 18(2), 115-123.
Krejcie & Morgan (1970). Determining Sample Size for for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. New York, NY: McGraw-Hill.
Ponomarov, S.Y. & Holcomb, M. C. (2009). Understanding the Concept of Supply Chain Resilience. The International Journal of Logistics Management, 20(1), 124-143.
Porter, M.E. (2000). Competitive Strategy: Technique for Analyzing Industries and Competitors. New York: Prentice-Hall Publishing.
Pule, S. & Kalinzi, C. (2014). Relationship Management in Downstream Supply Chain: A Predictor of Performance among Selected Pharmaceutical Companies in Kampala, Uganda. International Journal of Managing Value and Supply Chain, 5(3), 61-73.
Supply-Chain Council, Inc., (2010). Supply Chain Management. Retrieved from http:// www.supply-chain.org.
Tate, R.L., Perdices, M., McDonald, S., Togher, L., & Rosenkoetter, U. (2014). The design, conduct and report of single-case research: Resources to improve the quality of the neurorehabilitation literature. Neuropsychological Rehabilitation, 24(2014), 315-331.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น