ประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์ จากสมรรถนะผู้สอนและการวัดประเมินผล กรณีศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จันทนา วัฒนกาญจนะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • แพรวพรรณ ตรีชั้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • ธนาธิป พัวพรพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การเรียนออนไลน์, สมรรถนะผู้สอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบของประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์ และ 2) ประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์ จากสมรรถนะผู้สอนและการวัดประเมินผล กรณีศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกในเก็บข้อมูลออนไลน์จากนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ ทั้ง 10 สาขา จำนวน 1,368 ราย ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ ที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าร้อยละ และการทดสอบองค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางผ่านการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง 

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับที่สูงทุกด้าน โดยมีค่าน้ำหนักปัจจัยระหว่าง 0.743 - 0.830 โดยสามลำดับแรกที่มีค่าน้ำหนักปัจจัยสูงสุด ได้แก่ การเรียนออนไลน์ ทำให้การเรียนมีสนุกสนานมากขึ้น (gif.latex?\lambda&space;y = 0.830) การเรียนออนไลน์ ทำให้นักศึกษามีความอยากเรียนรู้มากยิ่งขึ้น (gif.latex?\lambda&space;y = 0.817) และการวัดและประเมินผลที่ได้จากการสอนแบบออนไลน์ช่วยส่งเสริมความซื่อสัตย์ ในการทำแบบทดสอบประเมินตนเองทั้งก่อนและหลังเรียน (gif.latex?\lambda&space;y = 0.785) ตามลำดับ 2) ประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์ เกิดจากอิทธิพลทางรวมของ จากสมรรถนะผู้สอน (TE = 0.893) และการวัดประเมินผล (TE = 0.870) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 71.90 ในขณะที่การวัดประเมินผล ได้รับอิทธิพลรวมจากสมรรถนะผู้สอน (TE = 0.825) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ ร้อยละ 69.10 

References

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ E-Learning (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กาญจนา ปัญญาธร, ศรินรัตน์ นิลภูผาทวีโชติ, ชลการ ทรงศรี, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และเสาวลักษณ์ ทาแจ้ง. (2563). ชีวิตวิถีใหม่ของบุคลากรด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(4), 45-53.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร. (2563). การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากร สำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(2), 257-269. Doi.org/10.14456/jmsnpru.2020.44

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล.(2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. Veridian E-Journal SU กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 652-666.

นงลักษณ์ อัจนปัญญา. (2563). เมื่อไวรัสโควิด-19 กำลังพลิกโฉมระบบการศึกษาโลก. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/30577/

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2554). การศึกษาสมรรถนะผู้สอนออนไลน์ในการศึกษาทางไกลด้วยอีเลิร์นนิง (รายงานการวิจัย). ทุนสนับสนุนการวิจัย: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

วิทยา วาโย. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2561). การปรับใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในจังหวัดนครปฐม.วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 287-302.

Artino, A.R. Jr. (2008). Practical Guidelines for Online Instructors. TechTrends, 52(3), 37-45.

Bawane, J. & Spector, M. J. (2009). Prioritization of online instructor roles: implications for competency‐based teacher education programs. Distance Education, 30(3), 383-397. Doi.org/10.1080/01587910903236536

Karnouskos, S. (2017). Massive open online courses (MOOCs) as an enabler for competent employees and innovation in industry. Computers in Industry, 91, 1-10. doi:10.1016/j.compind.2017.05.001

Kostić, S. C., & Šarenac, J. G. (2020). New Normal Strategic Communication. In Business Management and Communication Perspectives in Industry 4.0, 71-92. DOI: 10.4018/978-1-5225-9416-1.ch005

Levinson, K. T. (2007). Qualifying Online Teachers-Communicative Skills and Their Impact on

e-Learning Quality. Education and Information Technologies, 12(1), 41-51.

Sáiz, F. B. (2013). Online Learners' Frustration. Implications for Lifelong Learning, in Distance and E-Learning in Transition (eds U. Bernath, A. Szücs, A. Tait and M. Vidal), John Wiley Sons, Inc., Hoboken, NJ USA. Doi:10.1002/9781118557686.ch36

Shapiro, H. B., Lee, C. H., Roth, N. E., Li, W. K., Çetinkaya-Rundel, M., & Canelas, D. A. (2017). Understanding the massive open online course (MOOC) student experience: An examination of attitudes, motivations & barriers. Computers & Education, 110, 35-50.

Sheu, F. R., Lee, M. M., Bonk, C. J., & Kou, X. (2013). A mixed methods look at self-directed online learning: MOOCs, open education, and beyond. Retrieved from http://publicationshare.com/EQRC_OER_fsheu_Lee_Bonk_Kou_V6-APA-Single_sided.pdf

Thammetar, T., Theeraroungchaisri, A., & Khlaisang, J. (2016). OER, OCW & MOOCs: Enhancing borderless open access education in Thailand. Reports presented at 2016 Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL) Conference, University Putra Malaysia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30