ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทผลิตและจำหน่ายขนมอบกรอบแห่งหนึ่ง ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ วรรณกูล มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กฤช จรินโท คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ลัดดาวัลย์ ฤทธิ์สมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์, ระดับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัทผลิตและจำหน่ายขนมอบกรอบแห่งหนึ่ง ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานแต่ละแผนกของบริษัทผลิตและจำหน่ายขนมอบกรอบแห่งหนึ่ง ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน One-way ANOVA และวิเคราะห์ความถดถอย Multiple Regression Analysis

ผลการศึกษาพบว่า พนักงานในแผนกที่ต่างกัน มีแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขด้านแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรแตกต่างกัน และพนักงานในแผนกที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างแตกต่างกัน นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีมีผลต่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างด้านความร่วมมือ ด้านความขัดแย้ง และด้านความสงบสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2555). หลักการ กฏหมาย และการบริหารแรงงานงานสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 13 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ขุนพล เชาวนปรีชา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา: นิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ).

สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2540). การพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน ดิสทริบิวชั่น เซอร์วิส.

สม ศุภนคร. (2546). การส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบการ. ในเอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์ (30-45). กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

สมคิด บางโม. (2555). แรงงานสัมพันธ์และรวมกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอส เค บุ๊คส์.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 600-610.

Nunnally, Jum C. (1967), Psychometric Theory (1st ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30