ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2

ผู้แต่ง

  • ธีทัต ตรีศิริโชติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อุมาพร ฉ่ำช่วง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ปัจจัยแรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการผู้ปฏิบัติงานภายในสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 จำนวนทั้งสิ้น 346 ชุด  และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เป็นเพศชายร้อยละ 53.5  มีอายุมากกว่า 32-39 ปี ร้อยละ 20.8 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 35.0 จบการศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 31.5 ดำรงตำแหน่งชำนาญงาน ร้อยละ 29.2 และมีอายุราชการ มากกว่า 20 ปี ร้อยละ 28.0 และผลการวิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจ พบว่า ด้านความสำเร็จของงาน และด้านการได้รับการยอมรับนับถือ มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05

เพื่อให้การปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรดำเนินการ ดังนี้ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ องค์การควรมอบหมายงานให้ข้าราชการปฏิบัติงานที่มีลักษณะท้าทาย น่าสนใจ และมีการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ข้าราชการเร่งสร้างสมรรถนะและผลงานมากยิ่งขึ้น เพื่อแข่งขันกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งมีผลสอดคล้องกับแนวคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่มุ่งเน้นสมรรถนะส่วนบุคคล และผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านความรับผิดชอบ ผู้บริหารของหน่วยงานราชการควรให้โอกาสข้าราชการในสังกัดเลือกโอกาสและวิธีการทำงานได้ด้วยตนเอง มีอิสระในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามกำหนดเวลา

References

กรมสรรพสามิต. (2558ก). ข้อมูลทั่วไปของกรมสรรพสามิต. สืบค้นจาก http://www.excise.go.th

_____________. (2558ข). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2. สืบค้นจาก http://region2.excise.go.th

_____________. (2558ค). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่. วันที่ค้นข้อมูล 7 ตุลาคม 2563, กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพสามิตกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2545.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสาร จํากัด.

เกียรติคุณ จิรกาลวสาน. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการ: กรณีศึกษา การประปาส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ธงชัย สมบูรณ์. (2549). จากองค์กรแห่งการเรียนรู้...สู่องค์กรเปี่ยมสุข กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ปราชญ์ สยาม.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, ร.ต.อ. (2546). เป้าหมายชีวิตและแรงจูงใจในการท้างานตามความหมายเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พรทิพย์ สุติยะ. (2550). ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในอำเภอเมืองเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ยงยุทธ เกษสาคร. (2545). ภาวะผู้นําและการทํางานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ตี กราฟฟิค.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2546). การจัดการพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: เพียรเอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า.

Beach, D.S. (1970). Personal: The management of people at work (2nd ed). New York: Macmillan.

Leithwood, Kenneth, Doris Jantzi and Alicia Fernandez. (1994). “Transformational Leadership and Teachers’ Commitment to Change,” In Murphy, Joseph and Karen Seashore Louis, eds. Reshaping the Principal Ship: Insight for Transformational Reform Efforts. P.77-98. California: Corwin Press.

Plowman, E.; & Peterson, C. (1989). Business Organization and Management. Illinois: Irwin

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. Tokyo: Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30