การจัดการความหลากหลายของบุคลากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • กล้วยไม้ วันทนัง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เมทินี รัษฎารักษ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ณัฏฐกิตติ์ เอี่ยมสมบูรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความหลากหลาย, ความหลากหลายของบุคลากร, การจัดการความหลากหลาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายด้านปัจเจกบุคคลและความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการแบบกึ่งโครงสร้างในลักษณะของการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ความหลากหลายทางความเชื่อและทัศนคติที่มีผลต่อการทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในองค์กร ความสามารถมีผลต่อการแบ่งปันความรู้และปรับใช้ในการทำงานได้ ประสบการณ์การทำงานส่งผลให้เกิดความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาที่ง่ายขึ้น ความถนัดส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในองค์กร และความสามารถในการเรียนรู้มีผลต่อระยะเวลาในการเรียนรู้และประสิทธิผลของงาน นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่มีความสามารถในการจัดการความหลากหลายด้วยวิธีการบูรณาการความรู้ความสามารถที่โดดเด่น การใช้ความยืดหยุ่นในการทำงาน และการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมนั้นส่งผลให้เกิดประโยชน์ คุณค่า และประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานที่ดีของพนักงานในองค์กร โดยผลการศึกษานี้จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการจัดการความหลากหลายของบุคลากรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กณิกนาฏ รักรอด สุทธิรักษ์. (2558). การบริหารความหลากหลายในกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์. (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัญฑิต, มหาวิทยาลัยะรรมศาสตร์).

ฐิติกร พูลภัทรชีวิน. (2553). พฤติกรรมปัจเจกบุคคล. สืบค้นจากhttps://sites.google.com/site/gaiusjustthink/nida-mpa/pa610/part3/phvtikrrmpaccekbukhkhl

นันทกานต์ สายปัน. (2555). การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น).

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2559). การจัดการความหลากหลายของบุคลากรในองค์กร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 5(2), 1-12.

พิชานนท์ เผ่าอำนวยวิทย์. (2562). IATA คาดการณ์แนวโน้มการเติบโตและความต้องการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศปี 2019. สืบค้นจาก https://www.airfreight-logistics.com/th/forecasting-airfreight-growth-and-demand-with-iata/

พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2554). การบริหารความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ: กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารนักบริหาร, 31(1), 153-159.

พีรญา ชื่นวงศ์ และวิชิต อู่อ้น. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(1), 1-14.

รัตน์ชนก จันยัง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และจันทนา แสนสุข (2559). ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 148, 64-104.

สโมสรไลออนส์สากล. (2560). การบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร. สืบค้นจาก http://www.lionsclubs310b.org/images/sub_1473070420/lions310b010.pdf

Phillipe, M. Y. (2011). Performance Management for Inclusion.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-07