ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ณัฐพงษ์ แก้วแสง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • นราเศรษฐ์ วรรณะวัลย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จุฬารัตน์ เงินอ่อน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มรกต จันทร์กระพ้อ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การยอมรับเทคโนโลยี, ความพึงพอใจของลูกค้า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL ในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน และทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 24.3 และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ ด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านความตั้งใจที่จะใช้งาน และด้านการนำมาใช้งานจริง ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแอปพลิเคชัน GHB ALL แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 33.5

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คุณิตา เทพวงค์. (2557). การตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่น Bualuang mBanking ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ ในเขตจังหวัดชลบุรี. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2(1), 1-9.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2551). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไทยออนไลน์. (2561). ธอส. ชวนดาวน์โหลด Mobile Application : GHB ALL พร้อมกัน 1 พ.ย.นี้. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/business/finance-banking/1406392

พูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย. (2562). แนวโน้มธุรกิจธนาคารในปี 2562: ถนนทุกสายมุ่งสู่ดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646607

วิภาวัลย์ แซ่โง้ว. (2557). ปัจจัยของคุณภาพโลจิสติกส์ต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลแพทย์ศาสตร์โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สำนักงานพัฒนาธุรกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). Mobile Banking รูปแบบใหม่ กับฟีเจอร์เพื่อผู้ประกอบการ e-Commerce. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/content/mobile-banking-features-for-e-commerce.html

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1).

อรอนงค์ ทองกระจ่าง. (2560). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารแบบบอกต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชัน Shopee. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

Al-Hawari, M., & Ward, T. (2006). The effect of automated service quality on Australian banks' financial performance and the mediating role of customer satisfaction. Marketing Intelligence and Planning, 24(2), 127-147.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd Edition). New York: John Wiley & Sons.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of Information technology. MIS quarterly, 13(3), 319-340.

Kolter, P., & Armstrong, G. (2006). Principles of marketing (11th ed.). New Jersey: Pearson education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-06